Goethe-Institut

ประเทศไทย
คุณะกรรมการคัดเลือกภาพยนตร์

คณะลูกขุนของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์มากกว่า 30 คนจากประเทศที่เข้าร่วมมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการเลือกภาพยนตร์

ในประเทศไทยคณะลูกขุนในปี 2564 ประกอบด้วยสมาชิกต่อไปนี้:
ยุทธินัย ยั่งเจริญ
Science Film Festival - Pre-Jury - Thailand: Silapavet Konthikamee

นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายกิจกรรม ประจำห้องสมุดมีชีวิต
TK Park

ยุทธินัย ยั่งเจริญ นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายกิจกรรม ประจำห้องสมุดมีชีวิต ชื่นชอบการชมภาพยนตร์ ซีรี่ส์ แอนนิเมชั่น และคิดว่าสื่อเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ เกิดไอเดีย และจุดประกายความคิด ต่อยอดไปในศาสตร์ที่เราสนใจได้มากขึ้น

ณันท์นภัส โตพัน
Science Film Festival 2021 - Pre-Jury - Thailand: Natasha Worapornrujee

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ/วิทยากรบรรยายดาว
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ณันท์นภัส โตพัน นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ/วิทยากรบรรยายดาว ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ผู้ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเรียนไปกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์บอสตัน และท้องฟ้าจำลองชาร์ลส์ เฮเดน ด้วยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาหากมีโอกาส
 

วชิราภรณ์ ขวาของ
Science FIlm Festival - Pre-Jury - Thailand: Kaewnapha Phothi

นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่อง
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

วชิราภรณ์ ขวาของ นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่อง จบการศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันปฏิบัติงานในตำเเหน่ง นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์เเละสิ่งเกี่ยวเนื่อง รับผิดชอบดำเนินงานกิจกรรมโครงการ โรงหนังโรงเรียน ภาพยนตร์เพื่อผู้สูงอายุ รวมถึงงานเผยเเพร่ องค์ความรู้ด้านภาพยนตร์เพื่อการศึกษา ยินดีที่หน่วยงานได้เป็นหนึ่งในภาคีร่วมจัดเทศกาลฯ โดยใช้ภาพยนตร์ที่ร่วมคัดเลือกมาเป็นสื่อการเรียนรู้ นอกเหนือตำราเรียนสำหรับเยาวชน ตั้งแต่ระดับช่วงชั้นปฐมวัย จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงการนำภาพยนตร์ในเทศกาลฯ ไปจัดฉายในรอบบุคคลทั่วไป เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านบริบทของภาพยนตร์ ตามปณิธานของหอภาพยนตร์ที่ว่า “ภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา”

ดร. เปียทิพย์ พัวพันธ์
Science Film Festival - Pre-Jury - Thailand: Nora (Noramon) Intaranont, Ph.D.

ตำแห่งผู้ชำนาญ จบการศึกษาปริญญาเอก ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา)

ดร. เปียทิพย์ พัวพันธ์ ตำแห่งผู้ชำนาญ จบการศึกษาปริญญาเอก ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา) คณะครุศาสตตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญ ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สำนักประเมินและนวัตกรรมทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เล็งเห็นว่าเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ดีให้ความรู้ คู่ความบันเทิง เปิดโอกาสให้ครู นักเรียนได้เข้าถึงความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ไปตลอด
 

ดร. นรมน อินทรานนท์
Science Film Festival 2021 - Thailand - Jury - Wachiraporn Khwakhong

ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจและคลัสเตอร์นวัตกรรม สวทช.

ดร. นรมน อินทรานนท์ ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจและคลัสเตอร์นวัตกรรม สวทช. โดยเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยวิจัย และเรียนจนจบปริญญาเอกสาขาไฟฟ้าเคมี นอกจากงานหลักของเธอแล้ว เธอยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการขยะในประเทศไทยในเพจบางขยะ อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Plaplus ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลถ้วยใช้แล้วทิ้งที่ทำจากพอลิแลกติกแอซิด (PLA) และเพิ่งได้รับรางวัลองค์กรคนดี จากสภาผู้แทนราษฎรประเทศไทย ความมุ่งมั่นของเธอในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ยังสะท้อนออกมาในพอดแคสต์ของ สวทช. ที่เธอเป็นผู้ดำเนินรายการ "เพื่อนฉันเป็นนักวิทย์”" และ "Sci เข้าหู" ในเวลาว่างนรมนชอบดูสารคดีและรู้สึกตื่นเต้นที่จะมีส่วนร่วมในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี 2565 และ 2566 ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจและเตรียมคนหนุ่มสาวให้พร้อมสำหรับอนาคตของพวกเขาเอง
 

ศุภพิพัฒน โยธี
Science Film Festival 2021 - Thailand - Jury - Wachiraporn Khwakhong

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ศุภพิพัฒน โยธี (นักสื่อสารวิทยาศาสตร์) ปริญญาโท สัตววิทยา เกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ก็เหมือนระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่ย่อยวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน ให้มีโมเลกุลที่เล็กลงจนดูดซึมได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย รับประทานได้ทุกเพศทุกวัย การสื่อสารวิทยาศาสตร์ มีหลากหลายวิธี หลากหลายช่องทาง และภาพยนตร์ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในช่องทาง "สร้างสังคมวิทยาศาสตร์" เหล่านั้น ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในปีนี้ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจ เพราะมีการ "ผสมศิลปะร่วมกับวิทยาศาสตร์ และผสานนามธรรมให้เป็นรูปธรรม" ได้อย่างลงตัว