ปุ่มลัด:

ไปที่เนื้อหาโดยตรง(Alt 1) ข้ามไปยังเนวิเกชั่นหลัก (Alt 2)

ภาพรวมกิจกรรมตลอดหนึ่งสัปดาห์ของค่ายเยาวชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กลุ่มเยาวชนกำลังโบกมือให้กับกล้องถ่ายรูปท่ามกลางธรรมชาติ
เครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ค่ายเยาวชนประจำปี 2022 | ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

การจัดกิจกรรมภายใต้หัวข้อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชนจากหกประเทศพร้อมกับเรียนภาษาเยอรมันไปในตัวเกิดขึ้นได้อย่างไร เยาวชนทั้ง 24 คนและครูผู้ติดตามอีก 6 คนได้ร่วมทำหลากหลายกิจกรรมตลอดหนึ่งสัปดาห์ในประเทศไทยในฐานะสมาชิกเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

แนวความคิดทางการเรียนการสอนของการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศแบบองค์รวม

โครงการการรวมตัวของเหล่าเยาวชนที่ชื่อว่า เครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Netzwerk Klima) มีการใช้แนวความคิดการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศแบบองค์รวมเป็นหลัก ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ฝึกภาษาเยอรมันพร้อมกับเรียนเนื้อหาของวิชาเฉพาะทางร่วมกัน ในการทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ในไทย ผู้เข้าร่วมเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมได้เรียนรู้และพูดคุยเป็นภาษาเยอรมันในหัวข้อต่างๆ เช่น การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม การบริโภคและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมกับการคิดริเริ่มบริหารจัดการโครงการด้วยตัวเอง เมื่อไหร่ที่ไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาเยอรมันได้ ผู้เข้าร่วมต่างก็จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อร่วมทำกิจกรรมที่ไม่เน้นการใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลักร่วมกันได้อย่างราบรื่น
ผู้คุมฐานกิจกรรมในเสื้อเชิ๊ตสีฟ้ากำลังนำกิจกรรมกลุ่ม ร่วมจัดฐานกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับองค์กรไตรทศที่ร่วมจัดโครงการ | ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย องค์กรไตรทศเป็นองค์กรที่ร่วมมือจัดกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ และได้ถ่ายทอดทักษะและความรู้เฉพาะทาง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาต่อไปด้วยตัวเองได้ โดยในช่วงบ่ายจะเป็นช่วงของกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาเยอรมันแบบเน้นการใช้งานจริงเกี่ยวกับหัวข้อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีการฝึกอบรมและร่วมสังเกตการเรียนการสอนของครูผู้ติดตามดูแลเยาวชน เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนภาษาเยอรมันแบบเน้นการบริหารจัดการโครงการได้เองหลังจากที่ได้กลับประเทศของตนเองแล้ว 

ทานอาหารท้องถิ่น ลดจำนวนขยะ สัมผัสพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ในวันแรกของโครงการ องค์กรไตรทศได้จัดกิจกรรมตามล่าหาสมบัติในโรงแรมที่จัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักส่วนต่างๆ ของสถานที่จัดกิจกรรมได้ดีขึ้น ฐานกิจกรรมแรกเป็นฐานเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายของสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ในวันที่สองของค่ายเยาวชน ผู้เข้าร่วมได้ฝึกภาษาเยอรมันและทำกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมกับสายฝนที่ตกลงมาตลอดทั้งวัน แต่สายฝนและเมฆครึ้มก็ไม่ได้ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกอึมครึมแต่อย่างใดนัก ภายในโครงการยังมีหลากหลายกิจกรรมให้เข้าร่วม เช่น กิจกรรมการทำสบู่จากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ดอกโรสแมรี่จากสวนของโรงแรม กิจกรรมทำเปาะเปี๊ยะจากผักและสมุนไพรออร์แกนิกจากสวนปลูกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัตถุดิบจากสวนผักของโรงแรมเช่นกัน กิจกรรมดังกล่าวช่วยให้เยาวชนผู้เข้าร่วมเข้าใจถึงทำความสำคัญของการบริโภคอาหารท้องถิ่นต่อการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ไม่เพียงแต่พวกเขาจะได้รับประสบการณ์ตรงในการปลูกผักท้องถื่นในสวนของตัวเอง หากแต่ยังได้รู้จักวิธีการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเหลือเพื่อเพิ่มแร่ธาติที่สำคัญแก่ปุ๋ยและเพื่อลดปริมาณขยะ คงจะดีไม่น้อย หากนักเรียนแต่ละคนสามารถนำแนวทางการปฑิบัติตามวัฎจักรดังกล่าวมาปรับใช้ในโรงอาหารในโรงเรียนของตัวเองได้

คนกลุ่มหนึ่งกำลังยืนจุ่มเท้าในน้ำในสวนป่าดงดิบ พร้อมเสื้อกันฝน ฐานกิจกรรมท่ามกลางสายฝน | ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในวันที่สามของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมได้ทำความรู้จักกับการบริหารจัดการบ้านเมืองอย่างยั่งยืน เช่น การบำบัดน้ำเสีย แต่ละคนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตรวจสอบค่าความเป็นกรดในน้ำผ่านฐานกิจกรรมและการทดลอง ได้ทราบถึงอุปสรรคที่ชาวประมงในพื้นที่ ซึ่งควรเป็นกลุ่มอาชีพที่คอยควบคุมและปกป้องปริมาณปลาในแหล่งน้ำในไทย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องประกอบอาชีพภายใต้ปัญหาทางเศรษฐกิจอันหนักหน่วง ในช่วงบ่ายชาวค่ายจำทำกิจกรรมกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มฝึกภาษาเยอรมันและพัฒนาโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโรงเรียนของผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่ม
คนห้าคนกำลังถือกระดาษ A1 ที่มีภาพเส้นกราฟและกำลังอธิบายภาพ กลุ่มต่างๆ ต่างก็บริหารจัดการโครงการของกลุ่มเองอย่างเป็นรูปเป็นร่างตลอดค่ายเยาวชน | ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย กิจกรรมพายเรือและเดินป่าในเขาหลักเป็นกิจกรรมเดินทางหลักในวันที่สี่ของกิจกรรมค่าย สิ่งที่แต่ละกลุ่มได้พบเห็นและสัมผัสตลอดการเดินทางมีดังต่อไปนี้ การพายเรือแคยัก การเยี่ยมชมฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การทำหัตถกรรม การระบายสี และอื่นๆ อีกมากมาย โดยชุมชนบ้านท่าดินแดงเป็นชุมชนที่เน้นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำกิจกรรมนอกสถานที่
ภาพถ่ายเรือแคยักในแม่น้ำจากด้านบน ทัวร์พายเรือในชุมชนบ้านท่าดินแดง | ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในวันอื่นๆ ต่อมา กลุ่มเยาวชนค่ายจะมีโอกาสพัฒนาโครงการของตัวเองได้มากขึ้น และได้เข้าชมนิทรรศการ พร้อมชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับขยะพลาสติกในทะเลและผลเสียต่อสัตว์ทะเล นอกจากนี้ ยังได้ไปเก็บขยะตามชายหาด นำขยะพลาสติกส่วนหนึ่งไปบดเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตกระถางต้นไม้ขนาดเล็กด้วยเครื่องจักรพิเศษในเวลาต่อมา โดยทางโรงแรมยังมีสถานีแยกขยะของตัวเอง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแยกและการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
  • หลายคนกำลังเก็บขยะจากชายหาดและรวบรวมขยะลงในถังขยะขนาดใหญ่ กิจกรรมการเก็บขยะบนชายหาด
    กิจกรรมการเก็บขยะบนชายหาด
  • คนห้าคนกำลังหัวเราะและถือหันกระถางต้นไม้ขนาดเล็กมาที่กล้อง ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
    กระถางต้นไม้จากพลาสติกรีไซเคิล
ส่วนในเรื่องของความสำคัญในการสร้างพื้นที่ทางธรรมชาติอย่างเหมาะสมให้แก่สัตว์ทะเลนั้น เหล่าเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงาภาคที่ 3 และจบกิจกรรมประจำวันด้วยการล่องเรือแพท้องถิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ ในช่วงท้ายสุดของค่ายเยาวชน คณะนักเรียน ครูผู้ติดตามและทีมงานของสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ก็ได้ฉลองปิดท้ายด้วยการนำเสนอประเทศของตัวเอง โดยแต่ละกลุ่มประเทศได้นำเสนออาหาร การแต่งกาย ระบำและประเพณีอื่นๆ ที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง
คนสี่คนที่มีการแต่งกายแบบท้องถิ่นกำลังร้องเพลง ในคืนปิดท้าย แต่ละกลุ่มประเทศจะนำเสนออาหารและประเพณีต่างๆ ของประเทศตัวเองให้ผู้เข้าร่วมคนอื่นชม | ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

ล้วจะมีอะไรต่อจากนี้

ในตลอดทั้งสัปดาห์ แต่ละกลุ่มประเทศต่างก็ได้ร่วมกันบริหารจัดการแนวคิดของกลุ่มเพื่อที่จะนำไปปรับใช้ในโรงเรียนของตัวเอง โดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวแทนที่คอยติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย พวกเขาได้ก่อตั้ง สมาคมเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (LINK) ซึ่งเป็นเหมือนที่ที่สมาชิกทุกคนสามารถสนับสนุนกันและกันและดำเนินโครงการของตัวเองต่อไปได้ หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้สมาคมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนที่สำคัญก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า การปลูกฝังให้คนตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเดียวนั้นจะไม่มีประโยชน์หากไม่มีการปฎิบัติจริงเกิดขึ้น สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการก่อตั้งสมาคมเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการสนับสนันการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคม