บทความเกี่ยวกับการแปล

การแปลนั้นเป็นมากกว่าการถอดความทางภาษา © สถาบันเกอเธ่

การแปลนั้นเป็นมากกว่าการถอดความทางภาษา

สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา งานสนทนาวันนักแปลสากลประจำปี 2564 โดยสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จึงจัดงานผ่านรูปแบบดิจิทัลทาง Facebook live เพื่อเป็นการยกย่องและให้ความสำคัญแก่บทบาทในการเป็นทูตทางวัฒนธรรมของนักแปลทั่วโลก

Olga © สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

วรรณกรรม ความรัก และอุดมการณ์ทางการเมือง

“เรื่องนี้ละม้ายคล้ายข้างหลังภาพ ของ ศรีบูรพา ซึ่งจริงๆ จะให้ชื่อว่า กีรติ เหมือนที่เรื่องนี้ชื่อ โอลก้า ยังได้เลย“ มองโอลก้า นวนิยายของแบร์นฮาร์ด ชลิงค์ ในบริบทปัจจุบันในสังคมไทย ผ่านมุมมองของอรรถ บุนนาค

ปัญญาประดิษฐ์แปลวรรณกรรม “ได้ดี” เพียงไร Philippos Vassiliades | CC-BY-SA

ปัญญาประดิษฐ์แปลวรรณกรรม “ได้ดี” เพียงไร

ตอนเปิดตัวครั้งแรกในปีพ.ศ. 2549 Google Translate แปลภาษาได้เพียง 2 ภาษาเท่านั้น และภายในปีพ.ศ.2559 ระบบนี้รองรับการแปลได้มากกว่า 103 ภาษา รวมทั้งยังแปลมากกว่า 1 แสนล้านคำต่อวัน ตอนนี้ นอกจาก Google Translate จะใช้เพื่อแปลภาษาแล้ว ยังใช้เพื่อถอดเสียงภาษาได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งถอดเป็นภาษาต่างๆ ที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดได้ถึง 8 ภาษา คอมพิวเตอร์กำลังเรียนรู้และเรียนรู้ได้รวดเร็วเสียด้วย

การแปลวรรณกรรมยุคหลังมนุษย์? Philippos Vassiliades | CC-BY-SA

การแปลวรรณกรรมยุคหลังมนุษย์ ตัวอย่างจากงานวรรณกรรมของคาฟคา

หากเราประเมินคอมพิวเตอร์ว่าแปลได้ดีและรวดเร็วเพียงใดต่ำไป เราต้องรับผลนั้นเอง แต่คอมพิวเตอร์ยังต้องไปอีกไกล ดังนั้น ตอนนี้เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่เหมาะจะสำรวจสถานการณ์ว่าคอมพิวเตอร์แปลวรรณกรรมได้ดีเพียงไร เพื่อเริ่มต้นตอบคำถามข้อนี้ ผมใช้โปรแกรมแปลที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ณ ปัจจุบันแปลประโยคที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาษาเยอรมัน ประโยคหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษนั่นคือประโยคเปิดเรื่องเมตามอร์โฟซิส หรือ “ Die Verwandlung” ของคาฟคา (1915)

แฟร์ดินันด์ ฟอน ชีรัค © Annette Hauschild/OSTKREUZ

“สุดท้ายฮีโร่คือกฎหมายและศีลธรรม”

“Terror” ละครเวทีเรื่องแรกของ แฟร์ดินันด์ ฟอน ชีรัค (Ferdinand von Schirach) ที่พิชิตใจผู้ชมหลายเวที เขาเป็นทนายและนักเขียนที่มีผลงานติดอันดับขายดี  บทสัมภาษณ์ว่าด้วยละครเวที การวิพากษ์วิจารณ์และสังคม

”อุตสาหกรรมการพิมพ์ในตอนนี้ขาดแรงกระตุ้นในการพัฒนา”: Gerhard Steidl เจ้าของสำนักพิมพ์ Steidl © Joakim Eskildsen

“หนังสือจะต้องเป็นศิลปวัตถุ”

ฮาร์ด ชไตเดิล เจ้าข้องสำนักพิมพ์ อธิบายในบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับผลิตหนังสืออย่างไรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100 เปอร์เซนต์ และเปรียบความเหมือนระหว่างหนังสือและนาฬิกาข้อมือสุดหรู