โครงการริทัศน์ มองเมืองมุมใหม่ - ความร่วมมือเยาวชนไทย-ยุโรปในการพัฒนาชุมชนเมือง
โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย มูลนิธิการศึกษาเพื่อพลเมืองไทยและมูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน โครงการนำแนวทางที่ให้เยาวชนเป็นผู้นำมาใช้ในกระบวนการคิดและมองพื้นที่เมืองในประเทศไทยด้วยมุมมองใหม่ โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 และมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เมืองที่นับรวมทุกคน (inclusive cities) ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ การวางผัง และการพัฒนาเมืองในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โครงการมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเสริมพลังให้แก่เยาวชนไทยให้เป็นภาคีและผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเมืองอย่างเต็มตัว โครงการพยายามสร้างกลไกในการสร้างเสริมพลังของเยาวชนเพื่อไปมีส่วนร่วมในการกำหนดการวางผังเมือง เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กรเยาวชนในประเทศไทยและสหภาพยุโรป และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในนโยบายการพัฒนาเมืองในหมู่องค์กรเยาวชนและองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในประเทศไทย
ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น การอภิปรายแบบโต๊ะกลมเชิงนโยบายกับเยาวชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเทศบาลเมืองทั้ง 5 เมืองของประเทศไทย (กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น กาญจนบุรี และหาดใหญ่) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพและให้คำแนะนำแก่เยาวชนโดยผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นและจากต่างประเทศ ทัศนศึกษาไปเยี่ยมเยียนเมืองในประเทศในทวีปยุโรป 4 ประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นเมืองหลวงเยาวชนยุโรป 3 เมือง ได้แก่ เทสซาโลนีกี คลุจ-นาโปกา และไคลเปดา เทศกาลเยาวชนที่จัดขึ้นทั่วประเทศไทย และเวทีเยาวชนเมืองยุโรป-ไทย ทำให้โครงการสามารถสั่งสมประสบการณ์ตรงและความรู้จากการลงพื้นที่ในการนำแนวคิดแบบมีส่วนร่วมไปใช้ทำงานกับเยาวชนในประเด็นการพัฒนาเมือง
การมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่ประกอบด้วยกระบวนการจินตนาการและการออกแบบเมืองแบบใหม่ ทั้งในแง่กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ แนวคิดดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เรามาสำรวจวิธีในการทำให้เมืองน่าอยู่ ยั่งยืน และเข้มแข็งมากขึ้น ด้วยการสร้างพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมทางเลือกในการคมนาคมที่ใช้ได้จริง ปรับปรุงการเข้าถึงการบริการที่จำเป็น และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชน แนวคิดนี้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองจากรูปแบบดั้งเดิมที่ให้ความสำคัญกับรถยนต์ ทรัพย์สินที่ดินส่วนบุคคล และปัจเจกนิยม ไปเป็นรูปแบบใหม่ที่เปิดกว้างมากขึ้นและมีคนเป็นศูนย์กลาง ที่ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินส่วนรวม ความเสมอภาคทางสังคม และความรับผิดชอบร่วม การมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน และสร้างจิตสำนึกร่วมชุมชนในหมู่ผู้อยู่อาศัยในเมือง
ขณะเดียวกัน การมีส่วนร่วมของเยาวชนเป็นการให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา ต่อชุมชุน และต่อสังคมโดยรวม เป็นการทำงานกับเยาวชนในกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรมจิตอาสา การเคลื่อนไหวและการรณรงค์ ขบวนการณ์ทางสังคมและการเมือง บทบาทการเป็นผู้นำ และกิจกรรมทางพลเมือง การมีส่วนร่วมของเยาวชนมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมพลังแก่เยาวชน กระตุ้นให้ทุกฝ่ายรับฟังเสียงของเยาวชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างแข็งขันในการกำหนดอนาคตของชุมชนและโลกของพวกเขา การมีส่วนร่วมของเยาวชนถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสังคมที่เปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตย
การมีส่วนร่วมของเยาวชนมีความจำเป็นต่อการมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่ เพราะการกระทำดังกล่าวจะช่วยนำเสนอความคิดและมุมมองใหม่ ๆ แก่กระบวนการวางผังเมือง พื้นที่เมืองมักถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใหญ่เพียงฝ่ายเดียว และอาจละเลยความต้องการของเด็กและเยาวชนไป การให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้นักวางผังเมืองสามารถสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้าง ปลอดภัย และเป็นที่เพลิดเพลินสำหรับคนทุกวัยมากขึ้น นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของเยาวชนยังรับประกันว่า คนรุ่นต่อไปจะมีส่วนในการกำหนดชุมชนของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันและการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น เยาวชนที่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนตนเองมีแนวโน้มที่จะเสนอตัวเป็นอาสาสมัคร ไปลงคะแนนเสียง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในท้องถิ่น ซึ่งช่วยสร้างเมืองที่มีชีวิตชีวาและเข้มแข็งมากขึ้นได้
โดยรวมแล้ว การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่นั้นมีความสำคัญต่อการสร้างเมืองที่มีความเสมอภาค ยั่งยืน และน่าอยู่มากขึ้นที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคน
โครงการมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเสริมพลังให้แก่เยาวชนไทยให้เป็นภาคีและผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเมืองอย่างเต็มตัว โครงการพยายามสร้างกลไกในการสร้างเสริมพลังของเยาวชนเพื่อไปมีส่วนร่วมในการกำหนดการวางผังเมือง เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กรเยาวชนในประเทศไทยและสหภาพยุโรป และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในนโยบายการพัฒนาเมืองในหมู่องค์กรเยาวชนและองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในประเทศไทย
ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น การอภิปรายแบบโต๊ะกลมเชิงนโยบายกับเยาวชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเทศบาลเมืองทั้ง 5 เมืองของประเทศไทย (กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น กาญจนบุรี และหาดใหญ่) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพและให้คำแนะนำแก่เยาวชนโดยผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นและจากต่างประเทศ ทัศนศึกษาไปเยี่ยมเยียนเมืองในประเทศในทวีปยุโรป 4 ประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นเมืองหลวงเยาวชนยุโรป 3 เมือง ได้แก่ เทสซาโลนีกี คลุจ-นาโปกา และไคลเปดา เทศกาลเยาวชนที่จัดขึ้นทั่วประเทศไทย และเวทีเยาวชนเมืองยุโรป-ไทย ทำให้โครงการสามารถสั่งสมประสบการณ์ตรงและความรู้จากการลงพื้นที่ในการนำแนวคิดแบบมีส่วนร่วมไปใช้ทำงานกับเยาวชนในประเด็นการพัฒนาเมือง
การมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่ประกอบด้วยกระบวนการจินตนาการและการออกแบบเมืองแบบใหม่ ทั้งในแง่กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ แนวคิดดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เรามาสำรวจวิธีในการทำให้เมืองน่าอยู่ ยั่งยืน และเข้มแข็งมากขึ้น ด้วยการสร้างพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมทางเลือกในการคมนาคมที่ใช้ได้จริง ปรับปรุงการเข้าถึงการบริการที่จำเป็น และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชน แนวคิดนี้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองจากรูปแบบดั้งเดิมที่ให้ความสำคัญกับรถยนต์ ทรัพย์สินที่ดินส่วนบุคคล และปัจเจกนิยม ไปเป็นรูปแบบใหม่ที่เปิดกว้างมากขึ้นและมีคนเป็นศูนย์กลาง ที่ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินส่วนรวม ความเสมอภาคทางสังคม และความรับผิดชอบร่วม การมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน และสร้างจิตสำนึกร่วมชุมชนในหมู่ผู้อยู่อาศัยในเมือง
ขณะเดียวกัน การมีส่วนร่วมของเยาวชนเป็นการให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา ต่อชุมชุน และต่อสังคมโดยรวม เป็นการทำงานกับเยาวชนในกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรมจิตอาสา การเคลื่อนไหวและการรณรงค์ ขบวนการณ์ทางสังคมและการเมือง บทบาทการเป็นผู้นำ และกิจกรรมทางพลเมือง การมีส่วนร่วมของเยาวชนมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมพลังแก่เยาวชน กระตุ้นให้ทุกฝ่ายรับฟังเสียงของเยาวชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างแข็งขันในการกำหนดอนาคตของชุมชนและโลกของพวกเขา การมีส่วนร่วมของเยาวชนถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสังคมที่เปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตย
การมีส่วนร่วมของเยาวชนมีความจำเป็นต่อการมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่ เพราะการกระทำดังกล่าวจะช่วยนำเสนอความคิดและมุมมองใหม่ ๆ แก่กระบวนการวางผังเมือง พื้นที่เมืองมักถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใหญ่เพียงฝ่ายเดียว และอาจละเลยความต้องการของเด็กและเยาวชนไป การให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้นักวางผังเมืองสามารถสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้าง ปลอดภัย และเป็นที่เพลิดเพลินสำหรับคนทุกวัยมากขึ้น นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของเยาวชนยังรับประกันว่า คนรุ่นต่อไปจะมีส่วนในการกำหนดชุมชนของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันและการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น เยาวชนที่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนตนเองมีแนวโน้มที่จะเสนอตัวเป็นอาสาสมัคร ไปลงคะแนนเสียง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในท้องถิ่น ซึ่งช่วยสร้างเมืองที่มีชีวิตชีวาและเข้มแข็งมากขึ้นได้
โดยรวมแล้ว การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการมองพื้นที่เมืองด้วยมุมมองใหม่นั้นมีความสำคัญต่อการสร้างเมืองที่มีความเสมอภาค ยั่งยืน และน่าอยู่มากขึ้นที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคน