RTUS Research © Goethe-Institut / Charlotte

ทรัพยากร

เราได้รวบรวมความรู้และบทเรียนจากกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาโครงการเพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ รวมถึงบทความทางวิชาการจากต่างประเทศเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมือง ทั้งนี้ ทรัพยากรบางชนิดอาจมีเพียงเอกสารสรุปเท่านั้นที่เป็นภาษาอังกฤษ ส่วนฉบับเต็มจะเป็นภาษาไทย

กล่องเครื่องมือริทัศน์ (RTUS Tool Kit) เป็นทรัพยากรสำหรับกลุ่มเยาวชนและหน่วยงานรัฐและองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในประเทศไทยที่ต้องการทำงานกับเยาวชนในการพัฒนาและวางผังเมือง กล่องเครื่องมือนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางที่นำไปปฏิบัติได้จริงที่ถูกพัฒนามาจากประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในโครงการ

ReThink Urban Spaces Project by Shma © ReThink Urban Spaces

การประเมินการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมือง ผ่านกิจกรรมที่ริเริ่มโดยเยาวชนภายใต้โครงการ Rethink Urban Spaces จัดทำโดย บริษัท ฉมา

รายงานการศึกษานี้เป็นฉบับต่อเน่ืองจากรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเยาวชนกับการพัฒนาเมืองใน 5 จังหวัดของประเทศไทย จัดทำโดย บริษัท ฉมา จำกัด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยใช้การศึกษาเปรียบเทียบจากกรณีศึกษาจากต่างประเทศและกรณีของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงคเ์พื่อติดตามผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมืองผ่านกิจกรรมริเริ่มโดยเยาวชนภายใต้โครงการ Rethink Urban Spaces

ข้อมูลเพิ่มเติม 

RTUS Concept for an Online Urban Youth Community Platform © ReThink Urban Spaces

แนวคิดโครงการริทัศน์สำหรับพื้นที่ชุมชนเยาวชนเมืองออนไลน์

“พื้นที่ชุมชนเยาวชนเมืองออนไลน์” เป็นแนวทางที่เป็นผลมาจากการทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ออนไลน์ที่ขับเคลื่อนโดยเยาวชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแบบมีส่วนร่วมที่ช่วยต่อยอดเครือข่ายโครงการริทัศน์ให้คงอยู่ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

What is youth participation? © Thai Civic Education Foundationแบร์รี เช็คโคเวย์

การมีส่วนร่วมของเยาวชนคืออะไร

การมีส่วนร่วมของเยาวชนช่วยสร้างเสริมพัฒนาการเชิงบุคคลและสังคม ให้ความเชี่ยวชาญแก่โครงการและการบริการด้านเด็กและเยาวชน และส่งเสริมสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น แต่การมีส่วนร่วมของเยาวชนยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญสุด การขาดความเห็นชอบร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาพื้นฐานเป็นข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมของเยาวชนในฐานะแนวปฏิบัติและหัวข้อในการศึกษา บทความชิ้นนี้เป็นการสำรวจสิ่งที่เราทราบเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเยาวชน ข้อเสนอทั่วไปที่ได้รับการยืนยันโดยงานวิจัยและการปฏิบัติ และคำถามหรือประเด็นที่ยังไม่ได้รับการตอบซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการศึกษาต่อไปในอนาคต บทความนี้เป็นการเชื่อมโยงแนวคิดจากสาขาวิชาและความเชี่ยวชาญแขนงต่างๆ เพื่อเป็นส่วนในการพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนสาขาวิชานี้ให้เดินไปข้างหน้า

โปสการ์ดแสดงความหวังของเยาวชนที่จะมีสนามฟุตบอลในชุมชน © Ralph Fleckenstein, JAS – Jugend Architektur Stadt e. V. (YOUTH ARCHITECTURE CITY)แอนนา ยูเลียนเน่อ ไฮน์ริค

นักออกแบบเมืองรุ่นเยาว์ การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาเมืองในประเทศเยอรมนี

การวางแผนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางควรน้อมรับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในฐานะพลเมืองด้วยกัน การกระทำดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ นักวางผังเมืองในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาชีพไม่ควรวางแผนสำหรับเยาวชนเท่านั้น แต่ควรวางแผนร่วมกับเยาวชน และเห็นค่าการพัฒนาเมืองที่ได้รับการสนับสนุนโดยเยาวชน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวสร้างความท้าทายแก่นักวางผังเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้จึงนำเสนอวิธีการมีส่วนร่วมรูปแบบต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักวางผังเมืองจะทำงานร่วมกับเยาวชนในฐานะนักออกแบบเมืองได้อย่างไร ข้าพเจ้าได้สนับสนุนแนวทางที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นศูนย์กลางผ่านทฤษฎีขั้นบันไดของการมีส่วนร่วมของเยาวชนโดยโรเจอร์ ฮาร์ท ซึ่งเน้นตอบคำถามว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรในรูปแบบการมีส่วนร่วมต่างๆ รูปแบบการมีส่วนร่วม ทั้งที่นำโดยรัฐ การมีส่วนร่วมที่นำโดยองค์กรเยาวชน ตลอดจนโครงการของเยาวชนแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างการพัฒนาเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากความรู้ ความต้องการ และความคิดของเยาวชน รูปแบบการมีส่วนร่วมเหล่านี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมืองพิจารณาว่าจะนำมันไปปรับใช้ ส่งเสริม ขยับขยาย หรือเผยแพร่ต่อไปอย่างไร

การอนุญาตให้มีส่วนร่วม – เยาวชนกำลังสร้างที่นั่งไม้ที่สถานที่ก่อสร้างแบบมีส่วนร่วม © Ralph Fleckenstein, JAS – Jugend Architektur Stadt e. V. (YOUTH ARCHITECTURE CITY)แอนนา ยูเลียนเน่อ ไฮน์ริค และศ.ดร. อังเกลา มิลเลียน

เยาวชนในฐานะผู้สร้างเมือง การมีส่วนร่วมของเยาวชนในเทศบาลเมืองประเทศเยอรมนี

ในปี 2552 กระทรวงการคมนาคม การสร้าง และการพัฒนาเมืองของรัฐบาลกลางประเทศเยอรมนีได้เปิดตัวโครงการวิจัยที่ชื่อว่า “เยาวชนในชุมชนชมเมือง (Adolescents in Urban Neighborhoods)” โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาและวางผังเมืองในประเทศเยอรมนี โครงการนำร่องจำนวนทั้งหมด 55 โครงการได้รับเงินทุนสนับสนุนและถูกนำไปปฏิบัติทั่วประเทศเยอรมนีระหว่างปี 2552 – 2556 เพื่อสำรวจวิธีการ เครื่องมือ และยุทธศาสตร์ในการให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนและตัดสินใจ บทความนี้เป็นการพูดถึงและระบุโอกาสและความท้าทายต่างๆ ของการมีส่วนร่วมที่นำโดยรัฐและการมีส่วนร่วมอีกสองรูปแบบ อันได้แก่ การบูรณาการโครงการของเยาวชนในกระบวนการวางผังเมืองและการมีส่วนร่วมที่นำโดยองค์กรเยาวชน เพื่อขยายความเข้าใจของเราต่อการมีส่วนร่วมของเยาวชน

RTUS - Tool Kit - Intro © RTUS

กล่องเครื่องมือริทัศน์ - บทนำ

โครงการริทัศน์เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและเป็นความร่วมมือระหว่างคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย มูลนิธิการศึกษาเพื่อพลเมืองไทยและมูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน โครงการมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมแนวคิดที่นำโดยเยาวชนในการมองพื้นที่เมืองในประเทศไทยด้วยมุมมองใหม่ เพื่อสร้างสรรค์เมืองที่นับรวมทุกคน (inclusive cities) ให้เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองได้มามีส่วนร่วมในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

RTUS - Tool Kit - Unit 1 © RTUS

หน่วยที่ 1 – การทำงานกับเยาวชนในประเด็นเมือง

ส่วนนี้เป็นการดูคำนิยามและแนวทางเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเยาวชน อุปสรรคและประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของเยาวชน และหลักการและวิธีการในการมีส่วนร่วมของเยาวชนในบริบทการออกแบบและพัฒนาเมือง

RTUS - Tool Kit - Unit 2 © RTUS

หน่วยที่ 2 - การรณรงค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง

ส่วนนี้เป็นการบูรณาการกิจกรรมทางสังคมเข้ามาในนโยบายเกี่ยวกับเยาวชนเมือง พร้อมทำความเข้าใจว่าแนวทางดังกล่าวสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ได้อย่างไร เช่น การรับรู้สาธารณะของประเด็นหนึ่ง ๆ หรือทัศนคติของผู้กำหนดนโยบาย ส่วนนี้ยังให้ภาพรวมและแนวทางแบบเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการดำเนินโครงการเยาวชนในฐานะวิธีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในกระบวนการเมือง

RTUS - Tool Kit - Unit 3 © RTUS

หน่วยที่ 3 - การล็อบบี้ (การทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

ส่วนนี้นำเสนอความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องถิ่นกับเยาวชน ซึ่งเป็นก้าวที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ชุมชนเมืองที่เข้มแข็ง เปิดกว้าง และเป็นประชาธิปไตย หน่วยนี้เป็นการสำรวจวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อระบุความสนใจของแต่ละฝ่ายและเอื้อให้เกิดความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ

RTUS - Tool Kit - Unit 4 © RTUS

หน่วยที่ 4 - การทำกิจกรรมรณรงค์ (การทำงานกับชุมชน)

ส่วนนี้พูดถึงความสำคัญและเครื่องมือในการวางแผนการสื่อสารสาธารณะร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมรณรงค์ (แคมเปญ) เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติและนโยบายด้านการวางผังเมืองและนโยบายเมือง

RTUS - Tool Kit - Unit 5 © RTUS

หน่วยที่ 5 - กรณีศึกษา: การทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน

ส่วนนี้ให้ตัวอย่างโครงการที่ดำเนินการโดยเยาวชนในประเทศไทยระหว่างปี 2564 กับ 2565 เพื่อเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน ส่วนนี้ยังนำเสนอภาพรวมแนวคิดและระเบียบวิธีที่ใช้ในเมืองเยาวชนในทวีปยุโรปตะวันออก เพื่อเป็นทางเลือกรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในบริบทเมืองอย่างยั่งยื่น

RTUS - Tool Kit - Unit 6 © RTUS

หน่วยที่ 6 - การประเมินโครงการที่นำโดยเยาวชน

ส่วนนี้ให้วิธีวัดผลและประเมินผลลัพธ์ ความท้าทาย ความสำเร็จ และประโยชน์ของกิจกรรมรณรงค์และโครงการที่นำโดยเยาวชนในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมือง

องค์กรหลัก