Online Orientation Workshop
27 – 29 สิงหาคม 2564
การปฐมนิเทศการประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ (Online Orientation Workshop) เมื่อวันที่ 27 – 29 สิงหาคมที่ผ่านมา มีเยาวชนผู้เข้าร่วมกว่า 80 คนจากกรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และกาญจนบุรี ซึ่งได้รับเลือกให้ร่วมโครงการริทัศน์ ในกิจกรรมครั้งนี้สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (Society of Young Social Innovators (SYSI) รับหน้าที่เป็นกระบวนกรประสานความสัมพันธ์และสร้างทีมเวิร์คให้กับเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากริทัศน์ และเครือข่ายพันธมิตรในพื้นที่จากห้าเมืองเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาเมืองและให้มุมมองการพัฒนาเมืองในประเทศไทย
© RTUS © RTUS
กิจกรรมครั้งนี้เน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และมีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอภิปรายที่เน้นการนำเสนอ การแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองของผู้เข้าร่วมในประเด็นเมืองและเหตุผลที่เหล่าเยาวชนต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ในกิจกรรม “เมืองในฝันของฉัน” เยาชนได้นำเสนอภาพปะติดสี่ภาพซึ่งแสดงถึงความหวังและความปรารถนาถึงสิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องการเห็นในพื้นที่เมืองในประเทศไทย
© RTUS
ในกิจกรรมพบกับผู้เชี่ยวชาญของริทัศน์ เยาวชนผู้ร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญในสองหัวข้อ ได้แก่ “บทบาทพลเมือง บทบาทของเยาวชนและวิธีการในการพัฒนาเมือง” โดยคุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์ และคุณโตมร อภิวันทนากร และในหัวข้อ “ภาพรวมของเมืองและประเด็นสำคัญของเมืองในสังคมไทย” โดยคุณยศพล บุญสม
หัวข้อการบรรยายให้ข้อมูลทั้งสองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำบทบาทของเยาวชนที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและเน้นการแนะนำต่อการขับเคลื่อนที่จะปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมผ่านโครงการภายในกรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองที่มีอยู่
© RTUS © RTUS © RTUS
ในสุดสัปดาห์ระหว่างการทำกิจกรรม ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในเมืองโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยการพูดคุยอิงจากคำถามสองข้อ คือ “ทำไมคุณจึงสนใจประเด็นนี้” และ “คุณสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร” ในขั้นตอนนี้กิจกรรมได้ออกแบบมาเพื่อให้เน้นที่คำถาม "ทำไม" มากกว่าการหาคำตอบ
ทั้งนี้เยาวชนผู้เข้าร่วมในกลุ่มได้นำเสนอแนวคิดและมุมมองต่างๆ หกประเด็น โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นจากห้าเมืองได้เข้าร่วมการอภิปรายในฐานะที่ปรึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำ ในประเด็นทั้งหก ได้แก่:
© RTUS © RTUS
กิจกรรมครั้งนี้เน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และมีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอภิปรายที่เน้นการนำเสนอ การแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองของผู้เข้าร่วมในประเด็นเมืองและเหตุผลที่เหล่าเยาวชนต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ในกิจกรรม “เมืองในฝันของฉัน” เยาชนได้นำเสนอภาพปะติดสี่ภาพซึ่งแสดงถึงความหวังและความปรารถนาถึงสิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องการเห็นในพื้นที่เมืองในประเทศไทย
© RTUS
ในกิจกรรมพบกับผู้เชี่ยวชาญของริทัศน์ เยาวชนผู้ร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญในสองหัวข้อ ได้แก่ “บทบาทพลเมือง บทบาทของเยาวชนและวิธีการในการพัฒนาเมือง” โดยคุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์ และคุณโตมร อภิวันทนากร และในหัวข้อ “ภาพรวมของเมืองและประเด็นสำคัญของเมืองในสังคมไทย” โดยคุณยศพล บุญสม
หัวข้อการบรรยายให้ข้อมูลทั้งสองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำบทบาทของเยาวชนที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและเน้นการแนะนำต่อการขับเคลื่อนที่จะปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมผ่านโครงการภายในกรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองที่มีอยู่
© RTUS © RTUS © RTUS
ในสุดสัปดาห์ระหว่างการทำกิจกรรม ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในเมืองโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยการพูดคุยอิงจากคำถามสองข้อ คือ “ทำไมคุณจึงสนใจประเด็นนี้” และ “คุณสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร” ในขั้นตอนนี้กิจกรรมได้ออกแบบมาเพื่อให้เน้นที่คำถาม "ทำไม" มากกว่าการหาคำตอบ
ทั้งนี้เยาวชนผู้เข้าร่วมในกลุ่มได้นำเสนอแนวคิดและมุมมองต่างๆ หกประเด็น โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นจากห้าเมืองได้เข้าร่วมการอภิปรายในฐานะที่ปรึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำ ในประเด็นทั้งหก ได้แก่:
- พื้นที่สาธารณะ
- การคมนาคม
- ผังเมือง
- Universal Design
- สิ่งแวดล้อม
- อัตลักษณ์ของชุมชน