Foundation Workshop
กิจกรรมวันแรก การหาวิสัยทัศน์ร่วมของเมือง
แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เข้าร่วมในกิจกรรมสุดสัปดาห์ปฐมนิเทศ ทว่าโครงการจากทั้ง 5 ได้มีการนำเสนอครบในทุกห้องย่อยของแต่ละเมือง กิจกรรมนี้เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับเยาวชนแต่ละเมืองในการพัฒนาแนวคิดและร่วมอภิปราย
ความเข้าใจในโครงการที่แต่ละกลุ่มต้องการทำในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มเมือง
ในขั้นตอนนี้มีการใช้ Theory of Change (ToC) เป็นเครื่องมือในการสะท้อนความเข้าใจร่วมกันของสมาชิกทุกคนในเมืองต่อทิศทางและเป้าหมายของเมือง นอกจากนี้ ToC
ยังทำหน้าที่เป็นกรอบที่กำกับโครงการของแต่ละกลุ่มภายในเมืองให้ตอบสนองต่อจุดประสงค์ในภาพใหญ่ร่วมกันของเมืองอีกด้วย
การแลกเปลี่ยนในห้องย่อยของแต่ละเมืองเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเกิดความมีชีวิตชีวาเลื่อนไหลตามจังหวะและแนวของผู้เข้าร่วม โดยการสนับสนุนจากกระบวนกรทั้งจาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองในพื้นที่และพี่เลี้ยงจาก SYSI โดยเกิดกิจกรรมย่อยๆ เป็นหลักดังนี้
- เยาวชนแต่ละเมืองนำเสนอวิสัยทัศน์ร่วมโดยอิงจาก ToC
- วิสัยทัศน์ร่วมของเมืองที่ได้พัฒนาร่วมกันและ
- ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นเพื่อร่างแผนการดำเนินงาน
@ RTUS
วันที่สอง เวิร์คชอปเสริมทักษะและเติมความรู้
Room 1: Design thinking/ co-creation processโดย คุณจินตนา ชูพรมวงษ์ จาก Creative Economy Agency
(Public Organization), Thailand Creative & Design Center Khonkaen
นอกจาก 5 ขั้นตอนของ Design Thinking (Empathize, Define, Ideate, Prototype, Test) ที่จะนำไปสู่การหาวิธีการแก้ไขปัญหา หรือสร้างโจทย์ที่น่าสนใจใหม่ๆ แล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ก็ถือเป็นสำคัญ
ในการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมและพร้อมที่จะผลักดันให้สิ่งที่คิดสู่ความเป็นจริง
ให้มากที่สุด ลดข้อขัดแย้ง สร้างการสื่อสารและการรับรู้
© RTUS
© RTUS
The Era of Data-driven Urbanism โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้
จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The Era of Data-driven Urbanism โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวางแผนและการพัฒนาเมืองในปัจจุบันนั้นมีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเมืองนั้นมีความเป็นพลวัติและมีความสัลบซับซ้อน
ในตัวเอง จะใช้วิธีการบริหารจัดการเมืองในลักษณะของการออกแบบวางแผน และจัดการในรูปแบบการสั่งการจากบนลงล่างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ต้องจัดการกับความสัมพันธ์อันซับซ้อนของเครือข่าย ความรู้ และข้อมูลเมืองที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลในเมือง ดังนั้น การบริหารจัดการเมืองนั้น ไม่สามารถสำเร็จได้เพียงเพราะมีผู้นำที่มีความสามารถ หรือแค่ใช้อำนาจในการตัดสินใจของตนเอง หากแต่ต้องการ
การต่อรองการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายและภาคส่วนต่างๆ ของสังคมในการช่วยขับเคลื่อนการบริหารจัดการเมือง เช่นเดียวกับเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูลเมืองที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการจัดการข้อมูลร่วม (Collective Data) อันจะนำไปสู่การสร้างปัญญาร่วม(Colective Wisdoms)ในการบริหารจัดการข้อมูลเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพืรอสร้างเมืองจากฐานความรู้ เพราะเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic surplus) เป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของผู้คน กิจกรรม เมืองจึงกลายเป็นพื้นที่ปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้คน พื้นที่ ข้อมูลและความรู้ แต่แม้กระนั้นการบริหารจัดการเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองฐานข้อมูลและความรู้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ดังนั้น การจัดการและใช้ข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบ และสนับสนุนการบริหารจัดการเมืองจึงสำคัญ
© RTUS
© RTUS
Logframe และการพัฒนาแผนโครงการ โดย อ. วรงค์ นัยวินิจ
จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
เขียนข้อเสนอโครงการให้โดนใจผู้ให้ทุนด้วย Logical Framework
© RTUS
© RTUS
Design Intervention โดยอ.สุพิชชา โตวิวิชญ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำรวจการใช้กระบวนการการออกแบบและการแทรกแซงด้วยการออกแบบในฐานะเครื่องมือสำหรับ แนวคิดการสร้างสถานที่อย่างมีส่วนร่วม
© RTUS
เรื่องเล่าผ่านพอดแคสต์ โดย คุณพัชญ์ชนก คุ้มพิทักษ์
และ คุณชนินทร เพ็ญสูตร คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรื่องเล่าผ่านพอดแคสต์ Workshop ที่จะพาทุกคนเล่าเรื่องผ่านพอดแคสต์
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน ขอแค่มีเรื่องที่อยากเล่า ก็มาร่วมแลกเปลี่ยนใน Workshop กัน
© RTUS
Urban Design Fun(damental) เรียนรู้เมืองให้เป็นเรื่องสนุก
โดยคุณขวัญชนก คงโชคสมัย จากบริษัท ฉมา จำกัด
ชวนเยาวชนมาร่วมสะท้อนภาพเมืองตนเอง ผ่านเครื่องมือ และประสบการณ์การมองเมืองในมุมใหม่ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับเมืองของตนเองต่อไป
© RTUS
© RTUS
Empathizing และการปรับมุมมอง
โดยคุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์และกลุ่มสาธารณศึกษา Feel Trip
การสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์พัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่นนั้น ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่มาจัดการร่วมกัน เปลี่ยนวิธีคิดจากคิดแบบตัวใครตัวมัน มาเป็นวิธีคิด หรือ มีสํานึกร่วมของความเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เมืองที่เป็นของผู้คน เมืองที่เรามีสิทธิ มีเสรีภาพในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนา นับรวมผู้คนหลากหลาย เมืองที่มองเห็นหัวใจของกันและกัน
© RTUS
ในเวิร์คชอปครั้งนี้มีเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 43 คน
(เป็นชาย 15 คนและหญิง 28 คน)