แนวคิดโครงการริทัศน์สำหรับพื้นที่ชุมชนเยาวชนเมืองออนไลน์

“พื้นที่ชุมชนเยาวชนเมืองออนไลน์” เป็นแนวทางที่เป็นผลมาจากการทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ออนไลน์ที่ขับเคลื่อนโดยเยาวชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแบบมีส่วนร่วมที่ช่วยต่อยอดเครือข่ายโครงการริทัศน์ให้คงอยู่ต่อไป

Cross Study © ReThink Urban Spaces


กระบวนการทำงานเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2565 โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1: ก่อตั้งเครือข่าย

ขั้นนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายของผู้เข้าร่วมเยาวชนที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของกระบวนการ สิ่งสำคัญคือผู้เข้าร่วมจะต้องพัฒนาความเข้าใจร่วมและวิสัยทัศน์ร่วมสำหรับเครือข่ายที่ตนจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง มองเห็นถึงประโยชน์ที่แต่ละคนจะได้รับ และเข้าใจถึงเหตุผลและที่มาของความคิดริเริ่มนี้ ดังนั้น ตัวแทนจากเมืองริทัศน์ในแต่ละเมืองจำนวน 2 – 3 คนจึงได้ถูกขอให้มาเข้าร่วมกระบวนการและร่วมกันออกแบบรูปแบบเครือข่าย โดยผู้เข้าร่วมจะต้องตอบคำถามสำคัญว่า ทำไมเครือข่ายเยาวชนจึงสำคัญ? คุณมองเห็นเครือข่ายแบบใด? คุณอยากทำสร้างเครือข่ายกับใคร? เครื่องมือออนไลน์มีความสำคัญอย่างไรในการดูแลรักษาเครือข่าย? เยาวชนทั้งหมด 12 คนได้เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว

ระยะที่ 2: การศึกษากลุ่มย่อย

การสร้างและดำเนินงานเครือข่ายนั้นมีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน จำเป็นต้องคำนึงถึงหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการทรัพยากร อาทิ เงินและคน ความหลากหลายทางความคิด ความรับผิดชอบร่วม ความมุ่งมั่น ฯลฯ ดังนั้น เราจึงจัดการศึกษากลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พบปะและเรียนรู้จากกลุ่มและเครือข่ายอื่น ๆ ที่หลากหลายที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างเครือข่ายในประเด็นการพัฒนาเมือง ชุมชนเมือง และความเป็นผู้ประกอบการ ผู้เข้าร่วมได้ใช้ “network canvas” เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาจากการพบปะวิทยากรที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่าย การบริหารจัดการภายใน การสนับสนุนจากภายนอก การจัดการบริการสำหรับบุคคลที่สาม ปัจจัยในการประคองเครือข่าย และระยะเวลาในการสร้างเครือข่าย ผู้เข้าร่วมได้พบปะและแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายทั้งหมด 5 เครือข่ายด้วยกัน

กระบวนการทำงานเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2565 โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1: ก่อตั้งเครือข่าย

ขั้นนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายของผู้เข้าร่วมเยาวชนที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของกระบวนการ สิ่งสำคัญคือผู้เข้าร่วมจะต้องพัฒนาความเข้าใจร่วมและวิสัยทัศน์ร่วมสำหรับเครือข่ายที่ตนจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง มองเห็นถึงประโยชน์ที่แต่ละคนจะได้รับ และเข้าใจถึงเหตุผลและที่มาของความคิดริเริ่มนี้ ดังนั้น ตัวแทนจากเมืองริทัศน์ในแต่ละเมืองจำนวน 2 – 3 คนจึงได้ถูกขอให้มาเข้าร่วมกระบวนการและร่วมกันออกแบบรูปแบบเครือข่าย โดยผู้เข้าร่วมจะต้องตอบคำถามสำคัญว่า ทำไมเครือข่ายเยาวชนจึงสำคัญ? คุณมองเห็นเครือข่ายแบบใด? คุณอยากทำสร้างเครือข่ายกับใคร? เครื่องมือออนไลน์มีความสำคัญอย่างไรในการดูแลรักษาเครือข่าย? เยาวชนทั้งหมด 12 คนได้เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว

ระยะที่ 2: การศึกษากลุ่มย่อย

การสร้างและดำเนินงานเครือข่ายนั้นมีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน จำเป็นต้องคำนึงถึงหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการทรัพยากร อาทิ เงินและคน ความหลากหลายทางความคิด ความรับผิดชอบร่วม ความมุ่งมั่น ฯลฯ ดังนั้น เราจึงจัดการศึกษากลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พบปะและเรียนรู้จากกลุ่มและเครือข่ายอื่น ๆ ที่หลากหลายที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างเครือข่ายในประเด็นการพัฒนาเมือง ชุมชนเมือง และความเป็นผู้ประกอบการ ผู้เข้าร่วมได้ใช้ “network canvas” เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาจากการพบปะวิทยากรที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่าย การบริหารจัดการภายใน การสนับสนุนจากภายนอก การจัดการบริการสำหรับบุคคลที่สาม ปัจจัยในการประคองเครือข่าย และระยะเวลาในการสร้างเครือข่าย ผู้เข้าร่วมได้พบปะและแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายทั้งหมด 5 เครือข่ายด้วยกัน

ระยะที่ 3: การออกแบบกลไกและพื้นที่สำหรับเครือข่าย

หลังจากที่ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานจากเครือข่ายต่าง ๆ ที่เป็นกรณีศึกษาในระยะที่ 2 แล้ว ผู้เข้าร่วมได้เริ่มออกแบบเครือข่ายของตนเองโดยใช้ชุดคำถามแบบมีโครงสร้าง กระบวนการดังกล่าวใช้การพูดคุยแบบกลุ่มเป็นหลักในการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเครือข่ายทั้งสำหรับคนในกลุ่มและการสื่อสารกับภายนอก โดยใช้การวิจัย การออกแบบ และการเขียนลงบนผ้าใบดิจิทัล เพื่อนำมาซึ่งข้อตกลงร่วม และให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนเข้าใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบของตนเองภายในเครือข่าย

ระยะที่ 4: การสร้างแบบจำลอง

ทีมจาก MORandFARMER ได้ออกแบบจำลองพื้นที่จากแนวคิดที่ผู้เข้าร่วมนำเสนอระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการกำหนดนโยบาย และการพัฒนาศักยภาพแก่เยาวชน ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายเยาวชนและกลุ่มผู้ที่สนใจสร้างความเปลี่ยนแปลงในเมืองร่วมกัน

โครงสร้างของพื้นที่ดังกล่าวควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
  • การลงทะเบียน: เพื่อมาเป็นสมาชิกเครือข่าย
  • แนะนำองค์กร: เป้าหมายและภารกิจของเครือข่าย
  • เมือง: แนะนำเมืองภายในเครือข่าย
  • หัวข้อ: แนะนำประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและแง่มุมทางสังคม
  • เครือข่าย: ข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละเครือข่ายในแต่ละเมือง
  • โครงการ: โครงการที่ดำเนินการโดยแต่ละเครือข่าย
  • ความรู้: ข้อมูลจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สัมมนา งานวิจัย หรือโครงการ
  • กิจกรรม: กิจกรรมของเครือข่าย
  • นโยบาย: ข้อมูลนโยบาย
  • การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเมือง: ข้อมูลสำหรับงานวิจัย

ต้องดูต่อไปว่าพื้นที่ออนไลน์นี้จะสามารถหาเงินมาสนับสนุนได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี เครือข่ายเยาวชนริทัศน์จะพยายามผลักดัน โดยจะไปพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากเทศบาลและองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อไปหลังโครงการจบ