เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เป็นการเฉลิมฉลองการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกาและตะวันออกกลาง ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่นซึ่งช่วยส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และช่วยกระตุ้นการตระหนักถึงประเด็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผ่านทางภาพยนตร์นานาชาติที่มาพร้อมกับกิจกรรมด้านการศึกษา เทศกาลจะมีการนำเสนอประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เข้าถึงได้ง่ายและสนุกสนานแก่ผู้ชมในวงกว้าง และแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถสนุกได้ งานกิจกรรมดังกล่าวได้เติบโตขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่มีการจัดครั้งแรกในปี 2548 และกลายเป็นงานกิจกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านนี้
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จะมีการจัดโดยสถาบันเกอเธ่ในแต่ละประเทศ โดยร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นกับพันธมิตรในท้องถิ่น เทศกาลนี้อาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวง และศูนย์วัฒนธรรมในแต่ละประเทศของเจ้าบ้าน ตลอดจนความกระตือรือร้นของพนักงานและพันธมิตรรายอื่น ๆ เช่น NGO นักการศึกษา และกลุ่มอาสาสมัครนักเรียน ซึ่งเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการฉายและกิจกรรมต่าง ๆ
หัวข้อของปี 2566: ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ
ในปี พ.ศ. 2566 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เป็นพันธมิตรสนับสนุนอย่างเป็นทางการของทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยหัวข้อของแคมเปญนี้คือการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นไทม์ไลน์ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การฟื้นฟูระบบนิเวศหมายถึงการช่วยให้ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมหรือถูกทำลายคืนสภาพ รวมทั้งอนุรักษ์ระบบนิเวศที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มุ่งมั่นที่จะเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริหารจัดการระบบนิเวศเพื่อจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตอย่างบูรณาการ รวมถึงความจำเป็นในการยกระดับความพยายามในการจัดการกับปัญหาการแปรสภาพของผืนดินเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การกัดเซาะและความแห้งแล้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการขาดแคลนน้ำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีความท้าทายในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก
โอกาสที่เท่าเทียมกันหมายถึงสถานะของความเป็นธรรมซึ่งคนเราได้รับการปฏิบัติเหมือนๆ กัน โดยปราศจากอุปสรรคที่ถูกสร้างขึ้นหรืออคติหรือการเลือกที่รักมักที่ชัง นวัตกรรมที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ได้ก่อให้เกิดผลเชิงบวกในแทบทุกด้านของชีวิตมนุษย์ แต่แม้กระทั่งในทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์ก็ยังสามารถทำให้เกิดความเท่าเทียมน้อยลงและเกิดปัญหารุนแรงขึ้น และการที่ชนกลุ่มน้อยและสตรีในองค์กรทางวิทยาศาสตร์ถูกมองข้ามมาอย่างต่อเนื่องก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ท้าทายการบ่มเพาะบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติให้เพียงพอ
ความหลากหลายทางวิทยาศาสตร์หมายถึงการปลูกฝังความสามารถและส่งเสริมความเป็นเลิศในสังคมอย่างเต็มรูปแบบ ความหลากหลายถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำความเป็นเลิศมาสู่ STEM บุคลากรทางวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายและครอบคลุมนั้นจะนำเอาภูมิหลัง มุมมอง และประสบการณ์ที่มีในวงกว้างที่สุดมาใช้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์อย่างสูงสุด
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี พ.ศ. 2565 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความตระหนักในประเด็นเรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในสาขา STEM ของกลุ่มคนที่ถูกมองข้ามซึ่งการศึกษาและการทำงานด้านวิทยาศาสตร์จะมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันเพื่อผลประโยชน์ของทุกภาคส่วนในสังคม
ในปี พ.ศ. 2566 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เป็นพันธมิตรสนับสนุนอย่างเป็นทางการของทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยหัวข้อของแคมเปญนี้คือการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นไทม์ไลน์ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การฟื้นฟูระบบนิเวศหมายถึงการช่วยให้ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมหรือถูกทำลายคืนสภาพ รวมทั้งอนุรักษ์ระบบนิเวศที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มุ่งมั่นที่จะเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริหารจัดการระบบนิเวศเพื่อจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตอย่างบูรณาการ รวมถึงความจำเป็นในการยกระดับความพยายามในการจัดการกับปัญหาการแปรสภาพของผืนดินเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การกัดเซาะและความแห้งแล้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการขาดแคลนน้ำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีความท้าทายในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก
ปี 2563 ดูจะเป็นก้าวสำคัญสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีการประชุมระดับโลกที่สำคัญเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมทางเพศ และอื่น ๆ เป็นปีแห่งความพยายามอันแรงกล้าและการลงมือทำเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 การค้นหาเส้นทางต่อไปจากจุดนี้อาจจะท้าทายยิ่งกว่าเดิม วิสัยทัศน์ที่ระบุไว้ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คือพิมพ์เขียวร่วมกันของเราเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นและมีความยั่งยืน เพื่อบรรลุอนาคตนั้น เราต้องมองไปที่โลกในปัจจุบัน เข้าใจถึงความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลง และลงมือทำเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้น การแพร่ระบาดส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ SDG 3 หรือด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงวัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสุขภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโลกสั่นคลอน อีกทั้งส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การมีสุขภาวะทางกายและใจที่ดีจึงมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและเยาวชนหลายคนอาจกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก พวกเขาอาจกังวลเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองเอาไว้ หรือกำลังต้องการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือคนที่พวกเขารักให้ดีขึ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาในช่วงเวลานี้จึงมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ และเหตุใดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จึงหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นสุขภาพกายและสุขภาพจิตในปี 2564 โดยจะเป็นการนำเสนอภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านี้
ในปี 2563 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้ชมกว่า 800,000 คน ใน 28 ประเทศ จากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง เทศกาลจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 20 ธันวาคม 2563 เนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19 การฉายภาพยนตร์ส่วนใหญ่ถูกจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ โดยมีการรับชมกว่า 200,000 ครั้ง เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โดยมีการเสนอภาพยนตร์ 92 เรื่อง จาก 24 ประเทศ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นทางการในปี 2563
ในปี 2558 มีประเทศ 193 ประเทศที่ได้รับเอาวิสัยทัศน์ของโลกสำหรับปี 2573 ไปใช้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวมีความหวังอย่างแรงกล้าที่จะมีโลกที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง ตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โลกที่ได้รับการพัฒนาทุกๆ ด้านทั้งในด้านสุขภาพ การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อาชีพที่ดีและความไม่เท่าเทียมที่ลดลง เหนือสิ่งอื่นใด
วิสัยทัศน์ดังกล่าวถูกระบุเอาไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งถือเป็นพิมพ์เขียวที่เราใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นและยั่งยืนกว่าเดิม ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจึงต้องหันมาพิจารณาโลกของเราในทุกวันนี้ ทำความเข้าใจความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงและลงมือทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง ภายใต้ความร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจำปี 2563 มีจุดมุ่งหมายที่จะพาทุกท่านสำรวจความเป็นไปได้เหล่านี้ ด้วยการคัดเลือกภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมาฉายจากทั่วโลก เทศกาลมุ่งที่จะทำให้การพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เป็นใจความหลักของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นี้ได้รับการขยายให้เป็นวงกว้างมากขึ้น การพูดคุยแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการลงมือทำจริงเพื่อพัฒนามนุษย์และโลกให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ในปี 2563 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้ชมกว่า 800,000 คน ใน 28 ประเทศ จากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง เทศกาลจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 20 ธันวาคม 2563 เนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19 การฉายภาพยนตร์ส่วนใหญ่ถูกจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ โดยมีการรับชมกว่า 200,000 ครั้ง เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โดยมีการเสนอภาพยนตร์ 92 เรื่อง จาก 24 ประเทศ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นทางการในปี 2563
ในปี 2558 มีประเทศ 193 ประเทศที่ได้รับเอาวิสัยทัศน์ของโลกสำหรับปี 2573 ไปใช้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวมีความหวังอย่างแรงกล้าที่จะมีโลกที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง ตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โลกที่ได้รับการพัฒนาทุกๆ ด้านทั้งในด้านสุขภาพ การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อาชีพที่ดีและความไม่เท่าเทียมที่ลดลง เหนือสิ่งอื่นใด
วิสัยทัศน์ดังกล่าวถูกระบุเอาไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งถือเป็นพิมพ์เขียวที่เราใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นและยั่งยืนกว่าเดิม ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจึงต้องหันมาพิจารณาโลกของเราในทุกวันนี้ ทำความเข้าใจความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงและลงมือทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง ภายใต้ความร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจำปี 2563 มีจุดมุ่งหมายที่จะพาทุกท่านสำรวจความเป็นไปได้เหล่านี้ ด้วยการคัดเลือกภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมาฉายจากทั่วโลก เทศกาลมุ่งที่จะทำให้การพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เป็นใจความหลักของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นี้ได้รับการขยายให้เป็นวงกว้างมากขึ้น การพูดคุยแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการลงมือทำจริงเพื่อพัฒนามนุษย์และโลกให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ในปี 2562 ที่ผ่านมา เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้เข้าชมถึงกว่า 1.3 ล้านคนใน 21 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา ลาตินอเมริกาและตะวันออกกลาง ในประเทศบังคลาเทศ บราซิล บูกินาฟาโซ อียิปต์ อินเดีย อิหร่าน จอร์แดน เคนยา มาเลเซีย เมียนมาร์ นามิเบีย ปากีสถาน เขตปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ รวันดา แอฟริกาใต้ ศรีลังกา ซูดาน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตและเวียดนาม โดยเทศกาลได้ถูกจัดขึ้นระหว่างช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2562 ทั่วโลก โดยมีระยะเวลาแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ
Alexander von Humboldt เกิดเมื่อ 250 ปีที่แล้ว (1769 - 1859) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและความยั่งยืนในปัจจุบันอย่างไร? Alexander von Humboldt ปฏิวัติความคิดของธรรมชาติโดยการเข้าใกล้ว่ามันเป็นเว็บที่มีการเชื่อมต่อกันและในการทำเช่นนั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนักเขียนและศิลปินมากมาย ในวันครบรอบ 250 ปีการเกิดของฮับบาร์ท์เราจำเป็นต้องมีมุมมองทั่วโลกมากขึ้นในทุกวันนี้เช่นความชื่นชมว่าทุกสิ่งเชื่อมต่อกันและอันตรายที่เกิดขึ้นในที่เดียวมักมีนัยยะในที่อื่น ๆ และโดยรวม บางทีความคิดเหล่านี้สามารถช่วยกระตุ้นทางเลือก - การคิดทั้งระบบและการแสวงหาความพยายามที่ชุบตัวโลกธรรมชาติ Humboldt มีความเคารพต่อธรรมชาติสำหรับสิ่งมหัศจรรย์ที่มีอยู่ แต่ยังเป็นระบบที่เราเองเป็นส่วนที่แยกออกไม่ได้
ในช่วงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามที่จะทำความเข้าใจและคาดการณ์ผลกระทบทั่วโลกของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวิธีการแบบสหวิทยาการของ Humboldt ต่อวิทยาศาสตร์และธรรมชาติมีความเกี่ยวข้องมากกว่าที่เคย เขาปฏิเสธที่จะถูกผูกติดอยู่กับระเบียบวินัยและยืนยันว่าทุกอย่างมีการเชื่อมโยงกันทั้งมนุษย์การหักบัญชีที่ดินพืชมหาสมุทรความหลากหลายทางชีวภาพการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศอุณหภูมิและอื่น ๆ ธรรมชาติของฮัมโบลด์เป็นพลังระดับโลก เวลาและอีกครั้งเขาตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ศิลปะและสังคมและได้นำมุมมองสากลทั่วโลกในภาพรวม เมื่อธรรมชาติถูกมองว่าเป็นเว็บความเสี่ยงของมันก็จะเห็นได้ชัด ทุกอย่างแขวนอยู่ด้วยกัน หากมีการดึงด้ายสักเส้น ทุกอย่างอาจคลายออก
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของวิธีการที่ซับซ้อนนี้กับศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนและคนหนุ่มสาวและสร้างความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน
ในปี 2561 ได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆ ได้แก่ บัวกิน่าฟาโซ่ อียิปต์ เอธิโอเปีย อินเดีย อินโดเนเซีย จอร์แดน เคนย่า มาเลเซีย พม่า นามิเบีย ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ รวันดา แอฟริกาใต้ ศรีลังกา ซูดาน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเวียดนาม โดยได้มีการจัดงานขึ้นทั่วโลกในวันและเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 23 ธันวาคม โดยมีผู้เข้าชมในงานเทศกาลเป็นจำนวรรวมถึง 1.2 ล้านคน สำหรับการจัดงานครั้งแรกใน 19 ประเทศจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกาและตะวันออกกลาง
หากคิดถึงภัยคุกคามทางธรรมชาติ เรามักจะคิดภาพขบวนรถยนต์ และเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ภาพอาหารบนโต๊ะกินข้าว แต่แท้จริงแล้ว ความจำเป็นด้านอาหารถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อโลกของเรา เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจำปี 2561 ได้ขุดคุ้ยประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับโภชนาการและการผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรทั่วโลก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเด็นดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักของศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการเกษตรกรรมถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะมีการปล่อยสารเรือนกระจกในการเกษตรมีปริมาณมากกว่ารถยนต์ รถบรรทุก รถไฟและเครื่องบินทั้งหมดรวมกันเสียอีก โดยในการเกษตรส่วนใหญ่จะมีการปล่อยแก๊ซมีเทนจากการปศุสัตว์และ
นาข้าว แก๊ซไนตรัสออกไซด์จากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารคาร์บอนไดออกไซด์จากการถางป่าเขตร้อน เพื่อขยายพื้นที่การเกษตรหรือการปศุสัตว์ โดยการกสิกรรมถือเป็นตัวบริโภคทรัพยากรทางน้ำที่สำคัญอย่างหิวกระหาย และยังเป็นตัวการหลักในการก่อมลพิษ ทั้งในรูปของของเสียจากปุ๋ยเคมีและมูลสัตว์ที่มักไปทำลายทะเลสาบ แม่น้ำและระบบนิเวศตามชายฝั่งในทุกที่ทั่วโลก นอกจากนี้ เกษตรกรรมยังทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะการถางพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้าหรือป่าเพื่อทำการเกษตรก็เหมือนกับการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญ ทำให้เกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้สัตว์ป่าสูญพันธ์
ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรรมจึงถือเป็นความท้าทายทางธรรมชาติที่สำคัญ และปัญหาจากการเกษตรก็จะเพิ่มมากขึ้นในขณะที่เราพยายามผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าประชากรบนโลกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกสองพันล้านคนในช่วงกลางศตวรรษ รวมทั้งหมดเป็นจำนวนกว่าเก้าพันล้านคนทั่วโลก แต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ความต้องการทางอาหารเพิ่มขึ้น ความเจริญที่กระจายตัวทั่วโลกก็ทำให้ผู้คนต้องการผลิตภัณฑ์ด้านอาหารเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากแนวโน้มดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป เราจะมีความจำเป็นต้องผลิตจำนวนพืชผลต่างๆ เพิ่มขึ้นถึงประมาณหนึ่งเท่าตัวในปี 2050
ในปี พ.ศ. 2560 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ กัมพูชา อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย จอร์แดน ลาว พม่า นามิเบีย ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ รวันดา แอฟริกาใต้ ศรีลังกา ซูดาน ประเทศไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม นอกจากนั้นยังขยายไปจัดในสองภูมิภาคเพิ่มเติม คือ เอเชียใต้ และแอฟริกาซาฮารา
เทศกาลมีผู้ชมกว่าหนึ่งล้านคน (1,142,686 คน) เป็นครั้งแรกใน 19 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เทศกาลกลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโครงการริเริ่มด้านการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในประเทศที่มีการจัดงาน
ขอต้อนรับสู่ยุคของมนุษยชาติ – เกษตรกรรม การค้า การขนส่งและอุตสาหกรรม ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เราได้ใช้ประโยชน์และเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมมีส่วนในการสร้างรอยเท้าที่มองไม่เห็นและไม่อาจย้อนกลับได้ ที่เรากำลังกระทำต่อโลกของเรา ทุกวันนี้ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์มีผลหยั่งรากลึกและเป็นวงกว้างมากจนนักวิทยาศาสตร์ ผู้กำหนดนโยบายและสังคมกำลังพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากมนุษย์ส่งผลต่อบันทึกทางธรณีวิทยาในระยะยาว จนนำไปสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า แอนโทรโปซีน หรือไม่ ด้วยหัวข้อที่ได้รับการคัดสรร เช่น การทำให้เป็นเมือง การเคลื่อนที่โยกย้าย ธรรมชาติ การวิวัฒนาการ อาหารและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนเครื่องจักร เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ 2017 ได้สำรวจอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของมนุษยชาติ
ในปี พ.ศ. 2558 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้จัดขึ้นที่บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา อียิฟต์ อินโดนีเซีย จอร์แดน ลาว เมียนมาร์ โอมาน ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ กาตาร์ รัสเซีย ซูดาน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม งานนี้จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมจนถึงวันที่ 18 ธันวาคมโดยมีวันที่จัดงานในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป งานนี้มีผู้ชมเกือบ 1 ล้านคน (967,659 คน) ใน 16 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง
ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ วัสดุใหม่ ๆ ได้ปฏิวัติโลกของเรา เมื่อช่างฝีมือ ผู้ผลิตและนักวิทยาศาสตร์ได้รับวัสดุใหม่ ๆ ทำให้สามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำได้มาก่อน แต่อะไรคือวัสดุใหม่ที่จะเปลี่ยนโลกของเราต่อไป
เราสามารถเรียกวัสดุศาสตร์ได้ว่าเป็น "การศึกษาเกี่ยวกับข้าวของ" เกือบทุกอย่างที่เราใช้ทุกวัน รองเท้าที่เราสวมใส่ อาหารที่เรากิน หรือจากโทรศัพท์ที่เราใช้ ทั้งหมดทำจากสารประเภทต่าง ๆ การทำความเข้าใจว่าวัสดุเหล่านี้ถูกนำมารวมกันอย่างไร เราจะนำมันไปใช้ได้หรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และทำสิ่งที่น่าอัศจรรย์มากยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการสร้างสารชนิดใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่วัสดุศาสตร์ศึกษาทั้งสิ้น
วัสดุบางอย่างเป็นสิ่งใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบมันแทบไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรกับมันได้บ้าง - พวกเขารู้เพียงว่ามันอาจเปลี่ยนชีวิตของเราได้ นักวิทยาศาสตร์กำลังหันมาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบวัสดุและใช้คุณสมบัติของมันก่อนที่จะไปที่ห้องทดลอง บางส่วนของวัสดุใหม่ล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นยังอยู่เฉพาะในทฤษฎี เป้าหมายคือการทำให้เป็นจริง แต่วัสดุแต่ชนิดก็มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ในปี พ.ศ. 2559 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เชิญผู้ชมไปสำรวจอดีต ปัจจุบันและอนาคตของวัสดุศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2558 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้จัดขึ้นที่บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา อินโดนีเซีย จอร์แดน ลาว เมียนมาร์ โอมาน ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ กาตาร์ รัสเซีย ซูดาน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม งานนี้เป็นพันธมิตรที่ร่วมมืออย่างเป็นทางการของปีสากลแห่งเทคโนโลยีแสงของสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2558 และมีการจัดงานขึ้นในระดับนานาชาติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 20 ธันวาคม โดยมีวันที่ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไปในระยะเวลาดังกล่าว งานนี้มีผู้เข้าชมกว่า 750,000 คนใน 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง รวมทั้งการทดลองจัดงานในบูร์กินาฟาโซและรัสเซียด้วย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ จึงมีการจัดพิธีมอบรางวัลสำหรับการจัดงานในปี ค.ศ. 2014 ขึ้นที่ศูนย์เทคโนโลยีใหม่ใน Deutsches Museum ในเมืองใวนิค ในวันที่
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้แสดงให้เห็นถึงการปรากฏตัวครั้งแรกของงานในยุโรป
ตลอดชีวิตของนักเขียนชาวเยอรมันและรัฐบุรุษ Johann Wolfgang von Goethe เขามีความหลงใหลในอนุภาพของแสงต่อมนุษย์ทั้งทางกายภาพและเชิงเปรียบเทียบ จากช่วงพระอาทิตย์ตกดินจนถึงการเกิดรุ้ง จากสีฟ้าของท้องฟ้าและทะเลไปจนถึงช่วงสีสันที่โดดเด่นของพืชและสัตว์ ประสบการณ์ครั้งแรกของเราเกี่ยวกับแสงและสีคือสิ่งที่เราเห็นในโลกธรรมชาติ อย่างไรก็ตามความสำคัญของแสงถึงยังมีมากกว่าเพียงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แสงได้ช่วยให้เรามองเห็นและเข้าใจจักรวาลได้ดีขึ้น ปี พ.ศ. 2558 เป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1915 Albert Einstein ได้เขียนสมการที่มีชื่อเสียงของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งแสดงผ่านชุดของการทดลองที่เน้นแนวคิดเรื่องแสง ศูนย์กลางของโครงสร้างของพื้นที่และเวลา คนทั่วโลกกำลังใช้แสงเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในสังคม จากการพิมพ์ 3 มิติเพื่อนำเสนอโซลูชั่นด้านพลังงานแก่ภูมิภาคที่กำลังพัฒนา แสงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 ช่วยปฏิวัติการแพทย์ เปิดโลกการสื่อสารระหว่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ตและยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมโลกเข้าด้วยกัน
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2557 มีการจัดงานในประเทศในแอฟริกาเหนือเป็นครั้งแรกและทำลายเป้าจำนวนผู้ชมถึงครึ่งล้านคน มีการจัดเทศกาลที่ประเทศกัมพูชา อียิปต์ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว สาธารณรัฐจอร์แดน พม่า ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ ซูดาน ประเทศไทย และเวียดนาม และมีผู้เข้าชมงานกว่า 580,000 คน
ในปี พ.ศ. 2557 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้หันไปเรื่องอนาคตและเทคโนโลยีที่จะสร้างอนาคตของวันพรุ่งนี้ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีกำลังเร่งความเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อนและสื่อต่างๆก็มีการใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ เช่น gentech nanotech ชีววิทยาสังเคราะห์ graphene น้ำมันสาหร่ายคอมพิวเตอร์ควอนตัมและแนวคิดอื่น ๆ ซึ่งเคยเป็นเพียงเรื่องของผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัย แต่ปัจจุบันเริ่มมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราและโลกที่เราอาศัยอยู่
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้อาจเป็นความท้าทายเพื่อทำให้เราต้องทันกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นนี้ คำมั่นสัญญาและความเสียหายใดที่นวัตกรรมใหม่เหล่านี้นำมาให้เรา? เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จึง พยายามสำรวจเรื่องราวอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ผ่านภาพยนตร์และรายการทางโทรทัศน์จากทั่วโลก พร้อมกิจกรรมอีกมากมาย
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2556 ขยายสู่ตะวันออกกลางเป็นครั้งแรก ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย จอร์แดน ลาว มาเลเซีย พม่า ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม มีผู้เข้าชมงานกว่า 440,000 คนใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้จบการจัดงานชุดซีรีย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการนำเสนอเนื้อหาด้านพลังงานและความยั่งยืนในปี พ.ศ. 2556 โดยมุ่งไปที่สิ่งที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนำเสนอในการปกป้องทรัพยากรและประโยชน์ของปัจจุบันสำหรับคนรุ่นอนาคต และทำไมอารยธรรมจึงต้องประสบกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในศตวรรษนี้ เราต้องการใช้พลังงานแบบใดในอนาคตและสิ่งที่ท้าทายรอคอยเราในช่วงหลายสิบปีมานี้คือคำถามพื้นฐานบางอย่างที่งานเทศกาลต้องการหาที่อยู่ในปีนี้ ความต้องการของเราสำหรับการคิดอย่างยั่งยืนไม่เคยมีมากขึ้นและอาจจะไม่มีที่ไหนเลยอื่นมากกว่าดังนั้นในการผลิตและการใช้พลังงานของเรา ทางเลือกที่เราทำในวันนี้จะส่งผลต่อคนรุ่นต่อไป
ต้นทุนและความพร้อมใช้งานของพลังงานส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผลผลิตของเศรษฐกิจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความสมดุลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเรา เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะมีส่วนร่วมในการอภิปรายที่สำคัญนี้และเพื่อกระตุ้นให้พลเมืองและผู้นำรุ่นต่อไปมีส่วนร่วมกับหัวข้อที่สำคัญนี้และได้รับแรงบันดาลใจจากข้อมูลภาพยนตร์และรายการต่างๆ ในหัวข้อนี้จากทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2555 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เสร็จสิ้นการดำเนินการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการนำพม่าและลาวเข้าร่วมในเทศกาลนี้ ทำให้มีประเทศครบ 8 ประเทศเข้าร่วมการจัดงาน หัวข้อหลักคือ "น้ำ" และมีผู้เข้าชมงานถึง 370,000 คนในภูมิภาค ทำให้กลายเป็นงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในโลก
การเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการดำรงชีวิตและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งทางสุขภาพและโภชนาการ เพื่อความเสมอภาคทางเพศและเศรษฐศาสตร์ ในหลายปีที่ผ่านมาความท้าทายด้านน้ำของเราจะทวีความสำคัญมากขึ้น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็วรวมกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้การเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ ในความเป็นจริง ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแย้งว่าอุปทานน้ำไม่แน่นอนอาจเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต สมัชชาแห่งสหประชาชาติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548-2558 เป็นทศวรรษแห่งการดำเนินการด้านน้ำเพื่อชีวิต เป้าหมายหลักคือ การส่งเสริมความพยายามในการบรรลุพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีต่อประเด็นเรื่องน้ำและเรื่องน้ำในเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ (MDGs) ภายในปี พ.ศ. 2558
ในปี พ.ศ. 2554 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เริ่มขึ้นในเวียดนามและมาเลเซีย หัวข้อหลักคือ "ป่า" และมีผู้เข้าชมงานกว่า 240,000 คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี พ.ศ. 2554 ได้รับการประกาศให้เป็นปีสากลแห่งป่าไม้โดยองค์การสหประชาชาติเพื่อสร้างความตระหนักและเสริมสร้างการจัดการอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของป่าไม้ทุกประเภท เพื่อประโยชน์ต่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต ป่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก มนุษย์กว่า 1.6 พันล้านคนต้องพึ่งพาป่าเพื่อชีวิตของพวกเขา และมีคนกว่า 300 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในป่าเหล่านั้น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากป่าเป็นแหล่งที่มาของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยผลิตภัณฑ์จากป่าทั่วโลกที่จำหน่ายในต่างประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 327 พันล้านดอลลาร์
คาดว่าทุกปีพื้นที่ป่าโลกของโลกจะสูญหายไป 130,000 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การแปลงที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การเก็บเกี่ยวที่ไม่ยั่งยืน การจัดการที่ดินที่ไม่ปลอดภัยและการสร้างการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับการสูญเสียพื้นที่ป่าเหล่านี้ การตัดไม้ทำลายป่ายังก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 20 ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ป่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยประมาณสองในสามของทุกสายพันธุ์บนโลกและการตัดไม้ทำลายป่าฝนเขตร้อนที่ปิดสนิทอาจทำให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพได้มากถึง 100 ชนิดต่อวัน
ในปี 2553 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยังมีการขยายตัวในระดับภูมิภาคต่อไปด้วยการริเริ่มการจัดงานในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เทศกาลมุ่งเน้นประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยหัวข้อหลักของงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้ความร่วมมือกับ
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายของธรรมชาติและมีอำนาจในการปกป้องหรือทำลายมัน ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเครือข่ายและระบบของสิ่งชีวิตซึ่งจะช่วยให้เรามีสุขภาพดี มีอาหาร เชื้อเพลิง และสิ่งตอบสนองอื่นๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตของเรา กิจกรรมของมนุษย์ทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลกถูกทำลายลงในเวลาอันรวดเร็ว ความสูญเสียเหล่านี้เรียกกลับคืนไม่ได้และสร้างความเสียหายต่อระบบที่ชีวิตของพวกเราพึ่งพาอยู่ แต่กระนั้นเราก็สามารถป้องกันได้ สหประชาชาติประกาศปี พ.ศ. 2553 ให้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรียกร้องให้ผู้นำโลกและทุกคนช่วยดำเนินการเพื่อปกป้องชีวิตในโลก อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ได้มีขึ้นในปีพ.ศ. 2545 เป้าหมายนี้กำหนดให้มีการลดอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพลงอย่างมากภายในปี พ.ศ. 2553
เทศกาลมีผู้เข้าชมงานถึง 130,000 คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 88,000 คนในประเทศไทย 12,500 คนในอินโดนีเซีย 9,500 คนในกัมพูชาและ 20,000 คนในฟิลิปปินส์
ในปี พ.ศ. 2552 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เริ่มการจัดงานในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค นั่นคือ ประเทศกัมพูชา ปีสากลแห่งดาราศาสตร์ของสหประชาชาติในปีพ. ศ. 2552 เป็นปีครบรอบ 400 ปีที่นักดาราศาสตร์ Galileo Galilei เริ่มสร้างกล้องโทรทรรศน์ของตนเองขึ้นและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นเวลานานก่อนหน้านี้ เขาเริ่มจดลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์ ค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีสี่ดวงและเริ่มปฏิวัติมุมมองของเราเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกในจักรวาล
นอกจากนี้จดหมายข่าวจากเดือนตุลาคม ค.ศ. 1608 ยังระบุถึงการเยี่ยมชมสถานทูตสยามแห่งแรกของยุโรปและการสาธิตกล้องโทรทรรศน์เป็นครั้งแรกในโลก ในเวลาที่มีการสาธิตกล้องโทรทรรศน์ เอกอัครราชทูตสยามซึ่งพระเจ้าเอกาทศรถส่งมา (รศ. 1605-1610) เพิ่งมาถึงเฮกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกที่ไปเยือนยุโรป ในเวลาดังกล่าว ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชาวสยามซึ่งเป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาจะได้เห็นกล้องโทรทรรศน์หรือแม้แต่ได้มองผ่านเครื่องมือนี้หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาจะเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้เห็น (หรือมองผ่าน) กล้องโทรทรรศน์ดังกล่าว 180 ปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ใกล้กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การคำนวณของพระองค์บนพื้นฐานของตำราสมัยใหม่ กล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ได้สั่งซื้อจากลอนดอนนั้นพิสูจน์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ในระหว่างที่พระองค์ประพาส พระองค์ทรงติดโรคมาลาเรียและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ซึ่งอาจเป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายคนแรกของแวดวงดาราศาสตร์ เพื่อระลึกถึงการคำนวณสุริยุปราคาที่ถูกต้องของพระองค์ ทุกวันที่ 18 สิงหาคมจึงถือว่าเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย
งานนี้มีผู้เข้าชมงานกว่า 5,500 คนในปีแรกที่ประเทศกัมพูชาและ 112,000 คนในประเทศไทย
ในปี 2551 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้ขยายไปถึงกว่า 20 จังหวัดในประเทศไทยและมีผู้เข้าชมงานกว่า 88,000 คน ชุดรูปแบบในปีนี้นำเสนอเรื่องราวอันหลากหลายของ "Science Edutainment" ซึ่งเป็นตัวอย่างวิธีการของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในการรวมการศึกษากับความบันเทิงเข้าด้วยกัน
Edutainment การรวมกันของการศึกษาที่ประสบความสำเร็จเข้ากับความบันเทิงในรูปแบบของรายการโทรทัศน์ไม่ได้เป็นเรื่องเล็กน้อยในการศึกษาปัจจุบัน แนวคิดเรื่องกิจกรรมทางการศึกษาในรูปแบบรายการโทรทัศน์มีวิธีการที่ทันสมัย น่าตื่นเต้นและน่าสนใจช่วยสะท้อนหลักคิดของศาสตร์ด้านการศึกษาตามแบบแผนได้เป็นอย่างดี
เทศกาลยังได้ปรับปรุงรูปแบบเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจมากที่สุดในเทศกาลนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อีกด้วย
ในปี 2550 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้ริเริ่มการจัดเทศกาลสัญจรกับ IPST ขึ้นและเป็นครั้งแรกที่มีการฉายเพิ่มในอีก 5 นอกเหนือจากกรุงเทพฯ หัวข้อหลักในปีนี้คือ "ไบโอนิกส์ - โลตัสเอฟเฟค"
ในปี ค.ศ. 1975 มีการค้นพบทางพฤกษศาสตร์ของ Barthlott และ Neinhuis จากมหาวิทยาลัยบอนน์เรื่องความสามารถในการทำความสะอาดด้วยตนเองของดอกบัว นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่าดอกบัวสามารถกำจัดโคลนและสิ่งสกปรกในขณะที่คลี่ใบของพวกมันได้ในตอนเช้า ดังนั้น พวกเขาจึงตรวจสอบโครงสร้างพื้นผิวของดอกบัวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ค้นพบว่าไม่ใช่โครงสร้างที่เรียบตามที่คาดไว้ แต่กลับมีโครงสร้างหยาบมาก ผลกระทบเหล่านี้ช่วยลดความแข็งแรงของการยึดเกาะ และห่อหุ้มดอกบัวด้วยพื้นผิวที่ไม่ซึมน้ำเป็นอย่างมาก เนื่องจากโลตัสเอฟเฟคถูกนำไปใช้กับไบโอนิกส์ จึงได้มีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ วันนี้เราสามารถเห็นโลตัสเอฟเฟคได้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ผลิตผ้าไม่ซึมน้ำ การใช้งานอื่น ๆ ได้แก่ แก้ว พลาสติก ผิวทาสี โลหะ และเซรามิค
การจัดงานครั้งนี้มีผู้ชมกว่า 44,000 คนซึ่งนับว่าเป็นงานใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ตัวเลขผู้ชม ด้วยงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ครั้งที่สามนี้
ในปี 2549 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เน้นหัวข้อ "คาร์บอน 60 และนาโนเทคโนโลยี" เพื่อเทิดพระเกียรติการเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 60 ปีการเสด็จฯ ครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
บัคกี้บอล เรียกอีกอย่างว่า ฟูลเลอรีน เป็นอนุภาคนาโนที่ค้นพบครั้งแรก การค้นพบนี้เกิดขึ้นในปี 1985 โดยนักวิจัยทั้งสามคนที่ทำงานจากมหาวิทยาลัยไรซ์ที่มีชื่อว่า Richard Smalley, Harry Kroto และ Robert Curl บัคกี้บอลประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนที่เชื่อมโยงกับอะตอมของคาร์บอนอีกสามอะตอมด้วยพันธะโควาเลนต์ อย่างไรก็ตาม อะตอมของคาร์บอนจะเชื่อมต่อกันในรูปแบบเดียวกันกับรูปหกเหลี่ยมและรูปห้าเหลี่ยมที่คุณพบในลูกฟุตบอล ทำให้บัคกี้บอลมีโครงสร้างเป็นทรงกลม บัคกี้บอลที่พบมากที่สุดประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน 60 อะตอม และในบางครั้งจึงเรียกว่า C60 พันธะโควาเลนต์ระหว่างอะตอมของคาร์บอนทำให้บัคกี้บอลแข็งแรงมาก ๆ และอะตอมของคาร์บอนนั้นพร้อมที่จะสร้างพันธะโควาเลนต์กับอะตอมอื่น ๆ อีกมากมายได้ บัคกี้บอลถูกใช้เป็นวัสดุผสมเพื่อเสริมความแข็งแรงให้วัสดุ บัคกี้บอลมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่น่าสนใจในการเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีมาก ซึ่งหมายความว่าพวกมันรับอิเล็กตรอนที่มาจากวัสดุอื่น ๆ ได้ คุณลักษณะนี้มีประโยชน์ เช่น ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ในการเปลี่ยนแสงแดดเป็นกระแสไฟฟ้า
การจัดงานครั้งนี้ได้จัดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และสามารถเข้าถึงผู้เข้าชมงานได้ถึง 11,000 คนในปีที่สอง
ในปี 2548 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้ริเริ่มขึ้นที่สถาบันเกอเธ่และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หัวข้อหลักของปีแรกคือ "ไอน์สไตน์ - อย่าหยุดถามคำถาม" เพื่อฉลองครบรอบ 100 ปีของไอน์สไตน์ที่เรียกอีกอย่างว่า "ปีมหัศจรรย์" ซึ่งในช่วงสี่เดือนตั้งแต่มีนาคมถึงมิถุนายนปี ค.ศ. 1905 Albert Einstein ได้ตีพิมพ์เอกสารสี่ฉบับที่เป็นการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
ฉบับแรกได้อธิบายวิธีการวัดขนาดของโมเลกุลในของเหลว ฉบับที่สองเป็นวิธีกำหนดการเคลื่อนไหวของโมเลกุลเหล่านั้น และฉบับที่สามอธิบายว่าแสงมาเป็นแพ็กเก็ตที่เรียกว่าโฟตอนนั้นมีที่มาอย่างไร ซึ่งเป็นรากฐานของฟิสิกส์ควอนตัม และความคิดที่ว่านั้นทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด ฉบับที่สี่เป็นการแนะนำทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งชักนำให้นักฟิสิกส์หันมาพิจารณาแนวคิดเรื่องอวกาศและเวลาที่มีมาตั้งแต่รุ่งอรุณแห่งอารยธรรม จากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา Einstein ได้ชี้ให้เห็นในบทความที่ห้าว่า สสารและพลังงานสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในระดับอะตอม พูดให้ชัดก็คือ สูตร E=mc2 นั้น เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์พลังงานนิวเคลียร์และสมการทางคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์
งานนี้มีผู้เข้าชมงานกว่า 5,000 คนในกรุงเทพฯ ในปีแรก และได้วางรากฐานสำหรับวิธีการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อรวมการฉายภาพยนตร์และกิจกรรมต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน