คอนเซปต์และไอเดีย

เยอรมนี ดินแดนนักประดิษฐ์ ก่อร่างสร้างงานวิจัย

ไม่ว่าจะเป็นรถ โทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ – สิ่งประดิษฐ์เยอรมันเปลี่ยนโลกมาแล้ว ปัจจุบันเยอรมนีติด 1 ใน 3 ประเทศที่มีการจดลิขสิทธิ์มากที่สุดในโลก และมีผู้ทำงานสายวิทยาศาสตร์และการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงอนาคตอันไม่หยุดนิ่งในดินแดนแห่งนวัตกรรม และเป็นโอกาสสำหรับเยาวชนจากทั่วโลกที่ต้องการมาศึกษาต่อและวิจัยในเยอรมนี

สถาบันเกอเธ่จัดนิทรรศการหัวข้อ เยอรมนี ดินแดนนักประดิษฐ์ ในความร่วมมือกับ Fraunhofer Gesellschaft และ Max-Planck-Gesellschaft

แนวคิดหลัก (Grundidee)
เยอรมนี ดินแดนนักประดิษฐ์ –ก่อร่างสร้างงานวิจัย เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์จากสาขาวิทยาศาสตร์ของเยอรมันที่ขับเคลื่อนโลก มุ่งเน้นทั้งนวัตกรรมในอดีตและปัจจุบันที่จะกำหนดโลกอนาคตของเรา ซึ่งจะขาดวงการวิจัยเยอรมันไม่ได้อย่างแน่นอน

โครงสร้าง ( Aufbau)
ขึ้นต้นคำนำด้วยคำพูดน่าสนใจจากผู้มีชื่อเสียงในเจ็ดสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน คมนาคม สื่อสาร การแพทย์ ออพติกและวัสดุ แต่ละสาขามีของที่นำมาแสดง 5-6 อย่าง พร้อมกระดานรูปข้อความ และภาพสำหรับอธิบายถึงของที่นำมาแสดง กิจกรรมต่าง ๆ จะกระตุ้นให้ผู้ชมสนใจและร่วมลงมือทำ มีภาพยนตร์และฐานฟังต่าง ๆ ช่วยประกอบนิทรรศการ ส่วนกลางมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและวิจัยในประเทศเยอรมนี

การจัดงาน (Einsatz)
เยอรมนี ดินแดนนักประดิษฐ์ –ก่อร่างสร้างงานวิจัย เป็นนิทรรศการสัญจร ที่จัดขึ้นในสถาบันเกอเธ่ทั่วโลกเป็นระยะเวลาหลายปี เหมาะสำหรับนักเรียนและนักศึกษา (อายุตั้งแต่ 15-25 ปี) คำบรรยายในนิทรรศการมีสองภาษา คือภาษาเยอรมันและภาษาในประเทศนั้น
ผู้รับผิดชอบ (Beteiligte)
หัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงาน
Goethe-Institut / Sigrid Savelsberg
www.goethe.de

ผู้ประสานงานวิชาการและที่ปรึกษา
Max-Planck-Gesellschaft / Dr. Andrea Wegener
ww.mpg.de
Fraunhofer-Gesellschaft / Petra Meiners
www.fraunhofer.de

คอนเซ็ปต์/ออกแบบ
krafthaus, das Atelier von facts and fiction

กำกับศิลป์
krafthaus / Patrizia Widritzki

กราฟฟิค
krafthaus / Anna Gemmeke

ออกแบบของที่แสดงในนิทรรศการและสร้าง
designatics / Michael Kientzler

เว็บดีไซน์
<i-D> internet + Design GmbH & Co. KG

ร่วมออกแบบ จัดทำ
eskima design und allesweisz



ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกท่านที่ให้คำแนะนำ รูปภาพ ภาพยนตร์ ของที่นำมาแสดงที่ทำให้นิทรรศการประสบความสำเร็จด้วยดี