
เกม: คิดอย่างนักประดิษฐ์
เกมถูกหรือผิด แม้แต่นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างคาร์ล เบนซ์ วิลเฮล์ม เรินท์เกน ฯลฯ ยังต้องเจอคำถามยากและง่าย ลองมาเล่นแล้วหาทางที่ถูกต้องกัน
เกม: นักกดไอเดีย
ผู้ชนะคือคนที่สะสมไอเดียได้มากที่สุดและไปถึงจุดหมายได้เร็วที่สุด หลอดไฟแต่ละหลอดมีไอเดีย ยิ่งกดมากเท่าไหร่ ก็จะรวบรวมชื่อนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์ได้สมบูรณ์สำหรับทำกิจกรรมได้เร็วขึ้น

สิ่งประดิษฐ์
-
คาร์ล ซีกเลอร์, 1898–1973 นักเคมีรางวัลโนเบล
“ผมเริ่มต้นเหมือนนักเดินทางสู่ดินแดนที่ไม่รู้จัก”
คาร์ล ซีกเลอร์มักเรียกงานสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาว่าเป็นการเดินทางอันยาวนานที่ไม่รู้ทางออกแน่นอน ดินแดนใหม่ที่เขาสำรวจคือเคมีระหว่างโลหะและส่วนประกอบคาร์บอน งานของซีกเลอร์ทำให้สามารถผลิตวัสดุสังเคราะห์เช่น โพลีเอธีลีนและโพลีโพรไพลีน ค.ศ.1963 ซีกเลอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
-
ไอเคอ เวเบอร์ *ค.ศ.1949 นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญพลังงานแสงอาทิตย์
“มนุษย์จะต้องอยู่โดยใช้พลังงานยั่งยืน มิฉะนั้นก็ไม่รอด”
เราจะใช้พลังงานได้อย่างไรโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาได้อย่างไร เยอรมนีมุ่งใช้พลังงานหมุนเวียนเช่น แสงอาทิตย์ ลมและชีวมวล นักวิจัยจากสถาบันเฟราน์โฮเฟอร์ภายใต้การนำของไอเคอร์ เวเบอร์ได้ทำลายสถิติโลกหลายครั้งด้วยการสร้างเซลล์สุริยะที่มีประสิทธิภาพด้วยการสร้างเซลล์สุริยะที่มีประสิทธิภาพขึนมา
-
คอนราด ซูเซอ 1910-1995 วิศวกรโยธา นักประดิษฐ์และเจ้าของธุรกิจ
“ผมแค่ขี้เกียจคิดเลข”
กระดาษ ดินสอและไม้บรรทัดคำนวณ การคำนวณที่ซับซ้อนและซ้ำไปซ้ำมากำหนดชีวิตประจำวันของวิศวกรโยธาในทศวรรษ 1930 คอนราด ซูเซอรู้สึกว่าเครื่องมือจะช่วยทำงานที่น่าเบื่อจำเจนี้ได้ ค.ศ.1941 เขาจึงประดิษฐ์ Z3 คอมพิวเตอร์ที่ใช้การได้จริงเป็นเครื่องแรกของโลก
-
ฟิลลิป ไรซ์, 1834–1874 นักฟิสิกส์และนักประดิษฐ์
“ม้าไม่กินสลัดแตงกวา “
ค.ศ.1860 ฟิลลิป ไรซ์ประดิษฐ์เครื่องพูดระยะไกลที่ใช้งานได้เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จ ด้วยการสาธิตเครื่อง “โทรศัพท์” ที่ไรซ์เรียกสิ่งประดิษฐ์ของตน เขาถ่ายทอดประโยคที่ไม่มีความหมาย ซึ่งผู้รับไม่สามารถคาดเดาความเชื่อมโยงได้สำเร็จ ไรซ์สามารถพิสูจน์ได้ว่าการส่งข้อความผ่านสายไฟฟ้าใช้ได้จริง
-
คริสทีอาน่า นุสไลน์-โฟลฮาร์ด, *1942 นักชีววิทยาและเวชศาสตร์รางวัลโนเบล
“ชีวิตคือสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดเท่าที่มีในโลก”
เซลล์ไข่เพียงเซลล์เดียวกลายเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ที่ซับซ้อนได้อย่างไร คริสทีอาน่า นุสไลน์-โฟลฮาร์ดอุทิศชีวิตวิจัยเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์หญิงแห่งสถาบันมักซ์-พลังก์เป็นสตรีเยอรมันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา การค้นพบของโฟลฮาร์ดกลายเป็นพื้นฐานสำคัญในเวชศาสตร์และการวิจัยเรื่องมะเร็ง
-
ฟรีดริช วิลเฮล์ม วิคทัวร์ อัลแบร์ต ฟอน พรอยเซิ่น หรือ: จักรพรรดิวิลเฮล์มที่สอง (1859–1941) จักรพรรดิเยอรมัน (1888–1918)
“รถยนต์เป็นแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น ฉันเชื่อในม้ามากกว่า”
คนในยุคนั้นมองรถยนต์ในแง่ลบ เพราะเสียงดังและเร็วเกินไป แม้แต่จักรพรรดิวิลเฮล์มที่สองยังทรงกังขาในตอนแรก แต่ต่อมาพระองค์ก็กลายเป็นนักขับรถตัวยง เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ.1941 ทั่วโลกผลิตรถยนต์ห้าล้านคันต่อปี ปัจจุบันมีการผลิตรถยนต์ถึง 90 ล้านคันต่อปี
-
ชเตฟาน เฮล, *1962 นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
“ผมต้องการทำอะไรที่สุดยอดชนิดโลกคาดไม่ถึง”
ชเตฟาน เฮล นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันมักซ์-พลังก์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบ STED เมื่อปีค.ศ.2014 การค้นพบของเฮลทำให้เราสามารถมองเห็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตระดับนาโนได้ การค้นพบใหม่ล่าสุดนี้จะเกิดประโยชน์ต่อวิจัยสมองได้อย่างมาก
ชเตฟาน เฮล, *1962 นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
“ผมต้องการทำอะไรที่สุดยอดชนิดโลกคาดไม่ถึง”
ชเตฟาน เฮล นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันมักซ์-พลังก์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบ STED เมื่อปีค.ศ.2014 การค้นพบของเฮลทำให้เราสามารถมองเห็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตระดับนาโนได้ การค้นพบใหม่ล่าสุดนี้จะเกิดประโยชน์ต่อวิจัยสมองได้อย่างมาก -
คาร์ล ซีกเลอร์, 1898–1973 นักเคมีรางวัลโนเบล
“ผมเริ่มต้นเหมือนนักเดินทางสู่ดินแดนที่ไม่รู้จัก”
คาร์ล ซีกเลอร์มักเรียกงานสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาว่าเป็นการเดินทางอันยาวนานที่ไม่รู้ทางออกแน่นอน ดินแดนใหม่ที่เขาสำรวจคือเคมีระหว่างโลหะและส่วนประกอบคาร์บอน งานของซีกเลอร์ทำให้สามารถผลิตวัสดุสังเคราะห์เช่น โพลีเอธีลีนและโพลีโพรไพลีน ค.ศ.1963 ซีกเลอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
-
ไอเคอ เวเบอร์ *ค.ศ.1949 นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญพลังงานแสงอาทิตย์
“มนุษย์จะต้องอยู่โดยใช้พลังงานยั่งยืน มิฉะนั้นก็ไม่รอด”
เราจะใช้พลังงานได้อย่างไรโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาได้อย่างไร เยอรมนีมุ่งใช้พลังงานหมุนเวียนเช่น แสงอาทิตย์ ลมและชีวมวล นักวิจัยจากสถาบันเฟราน์โฮเฟอร์ภายใต้การนำของไอเคอร์ เวเบอร์ได้ทำลายสถิติโลกหลายครั้งด้วยการสร้างเซลล์สุริยะที่มีประสิทธิภาพด้วยการสร้างเซลล์สุริยะที่มีประสิทธิภาพขึนมา

Made in Germany
แต่ไหนแต่ไร เยอรมนีเป็นดินแดนของนักประดิษฐ์และนักสร้างสรรค์ มาดูสิ่งประดิษฐ์สุดยอด 14 ชิ้นจากฮัมบวร์กถึงมิวนิคกันฮัมบวร์ก ค.ศ. 1969
เกือบทุกคนต้องมีชิปการ์ดติดตัวเสมอไม่มากก็น้อย ยัวร์เก้น เดธลอฟ ช่างซ่อมวิทยุชาวฮัมบวร์กเป็นคนแรกที่คิดบันทึกข้อมูลบนบัตร ค.ศ.1969 เขาจดทะเบียนบัตรพลาสติกติดวงจรไฟฟ้านี้อยากรู้มากกว่านี้ไหม

ฮัมบวร์ก
ชิปการ์ด
รอชตอค (เดสเซา) ค.ศ.1939
Heinke He 178 เป็นเครื่องบินไอพ่นลำแรกของโลกที่มีความเร็วมากกว่าเครื่องบินใบพัดรุ่นเก่ามาก ฮันส์ โยอาคิม พาบสท์ ฟอน โอไฮน์ นักฟิสิกส์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์เทอร์โบนี้ ปัจจุบันเครื่องบินไอพ่นนี้ขนส่งผู้โดยสารทั่วโลกปีละกว่าห้าพันล้านคน
รอชตอค
เครื่องยนต์ไอพ่น (Jet Propulsion)
เบอร์ลิน ค.ศ.1935
ค.ศ.1935 คอนราด ซูเซอ วิศวกรโยธาหนุ่มเริ่มสร้างคอมพิวเตอร์ตั้งโปรแกรมได้เครื่องแรกของโลกในอพาร์ตเมนต์ของพ่อแม่ในกรุงเบอร์ลิน ต้องรอจนกระทั่งการทดลองครั้งที่ 3 เครื่อง Z3 เครื่องนี้จึงสามารถใช้งานได้จริง เครื่องจักรที่ขนาดใหญ่เท่าตู้นี้คือคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกอยากรู้มากกว่านี้ไหม

เบอร์ลิน
คอมพิวเตอร์
ไลพ์ซิก ค.ศ.1650
ปีค.ศ.1650 ในเมืองสตราสบูร์กซึ่งสมัยนั้นยังเป็นเมืองของเยอรมนี มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับแรกของโลก ชื่อ “Relation” ไม่นานหนังสือพิมพ์หัวใหม่ก็เกิดขึ้นทุกที่ สงครามสามสิบปีปะทุขึ้นในยุโรป ทำให้ผู้คนต้องการรู้โดยเร็วที่สุดว่าดินแดนอื่นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง วันที่ 1 ก.ค. 1650 ทิโมเธอุส ริทช์ เจ้าของโรงพิมพ์ในไลพ์ซิกได้รับพระราชานุญาตจากกษัตริย์ให้พิมพ์หนังสือพิมพ์ที่ออก 6 ครั้งต่อสัปดาห์ “Einkommende Zeitungen” จึงถือเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของโลก
ไลพ์ซิก
หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรก
วุพเพอร์ทาล-เอลเบอร์เฟลท์ ค.ศ.1897
วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1897 เฟลิกซ์ โฮฟมันน์ผลิต กรดอาซิติลซาลิไซลิค (ASS) ได้เป็นครั้งแรกในห้องทดลองของบริษัทไบเออร์ (Bayer) ยาชนิดใหม่ภายใต้ชื่อแอสไพรินได้กลายเป็นยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ทุกปีมีการผลิตแอสไพรินกว่า 50,000 ตัน ถ้าเอายาเม็ดแอสไพรินเรียงต่อกันจะมีความยาวเท่าระยะทางไป-กลับโลกถึงดวงจันทร์เลยทีเดียวอยากรู้มากกว่านี้ไหม

วุพเพอร์ทาล
แอสไพริน
บอนน์ บาดโกเดสแบร์ก ค.ศ.1915
ลูกค้าส่วนใหญ่ของร้านกาแฟ Agner ประมาณปีค.ศ.1915 มักเป็นนักศึกษา ของหวานยอดฮิตสมัยนั้นคือเชอรี่ราดครีม โยเซฟ เคลเลอร์ นักอบขนมจากแคว้นชวาเบนเกิดไอเดียบรรเจิดขึ้น “โยเซฟแสนหวาน” ซึ่งเป็นฉายาของเคลเลอร์ได้เปลี่ยนของหวานเรียบง่ายนี้ให้กลายเป็นเค้กสุดหรู โดยการใช้แผ่นแป้งมารองเป็นฐานเชอรี่ราดครีม โรยหน้าด้วยเกล็ดช็อคโกแลตบนหน้าและใช้น้ำเชอรีจากป่าดำเพิ่มรสชาติ เค้กแบล็กฟอเรสต์กลายเป็นเค้กที่โด่งดังไปทั่วโลก
บอนน์
เค้กเชอรี่แบล็กฟอเรสต์
เกิททิงเง่น ค.ศ.1999
ค.ศ. 1999 ชเตฟาน เฮลพัฒนากล้องจุลทรรศน์แบบ STED ขึ้นในเกิตทิงเงิ่น เทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้มองเห็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็กเพียงไม่กี่นาโนเมตรใน ในเซลล์และเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตได้ ทำให้เฮลได้รับรางวัลโนเบลในปีค.ศ.2014อยากรู้มากกว่านี้ไหม

เกิททิงเง่น
กล้องจุลทรรศน์แบบ STED
มันไฮม์ ค.ศ.1886
รถยนต์ “สมัยใหม่” คันแรกมีสามล้อ วันที่ 29 มกราคม ค.ศ.1886 คาร์ล เบนซ์จดลิขสิทธิ์รถยนต์มอเตอร์คันแรกของเขา แบร์ธา เบนซ์ ภรรยาของคาร์ล เบนซ์ เป็นผู้ขับรถเดินทางไกลคนแรก ในต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.1888 เมื่อเธอเดินทางไปกลับจากมันน์ไฮม์ไปยังเมืองพฟอร์ซไฮม์ พร้อมลูกชายทั้งสองคนเป็นระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร โดยซื้อน้ำมันระหว่างทางในร้านขายยาอยากรู้มากกว่านี้ไหม

มันไฮม์
รถยนต์
ไมนซ์ ประมาณค.ศ.1450
โยฮันเนส เกนส์ไฟลช์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ กูเทนแบร์กถือเป็นบิดาแห่งการพิมพ์สมัยใหม่และเครื่องพิมพ์ นับแต่ปีค.ศ.1450 สิ่งประดิษฐ์ของเขาได้ปฏิวัติสื่อในยุโรปอย่างแท้จริง เพราะกระบวนการนี้ทำให้สามารถผลิตหนังสือได้เป็นจำนวนมาก การพิมพ์หนังสือถือเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 2 และเปลี่ยนโฉมหน้าสังคม วิทยาศาสตร์ การเมืองในยุคเรอเนซองต์โดยสิ้นเชิง
ไมนซ์
การพิมพ์หนังสือ
วาลดัคทาล-ทูมลิงเงน ค.ศ.1958
อาเธอร์ ฟิชเชอร์ ช่างโลหะและเจ้าของกิจการจดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์มากกว่า 1,100 ชิ้น ทำให้เขาเป็นนักประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเยอรมนี สิ่งประดิษฐ์มีชื่อที่สุดของเขาคือสลักเอส ซึ่งง่าย เร็วและทนทานกว่าระบบเก่า สลักเอสประสบความสำเร็จไปทั่วโลก
วาลดัคทาล
S-dowel (สลักเอส)
แฮร์โซเกนเอารัค ค.ศ.1925
อาดิ ดาสเลอร์มีภารกิจ เขาต้องการทำรองเท้าที่เหมาะกับกีฬาทุกประเภท ตั้งแต่ค.ศ.1928 นักกีฬาหลายคนในกีฬาโอลิมปิกที่อัมสเตอร์ดัมสวมรองเท้าพิเศษจากโรงงานของเขา ค.ศ.1936 เจสซี โอเวนส์ นักกรีฑาชื่อดังสวมรองเท้าของดาสเลอร์และพิชิตสี่เหรียญทอง และแล้วรองเท้าของดาสเลอร์ก็โด่งดังเป็นพลุแตกในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปีค.ศ.1954 เมื่อเยอรมนีเอาชนะฮังการี ซึ่งเป็นทีมไร้เทียมทานในยุคนั้น รองเท้าที่ดาสเลอร์ประดิษฐ์สามารถถอดตะปูได้ ปัจจุบัน รองเท้านี้โด่งดังไปทั่วโลกในชื่อ ADIDAS
แฮร์โซเกนเอารัค
รองเท้าฟุตบอล
วัวซ์บวร์ก ค.ศ.1895
วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน ศาสตราจารย์ฟิสิกส์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทำการทดลองในห้องทดลองโดยใช้รังสีแคโทด (cathodes) เช่นเดียวกับนักฟิสิกส์คนอื่นๆ ในยุคนั้น แต่วันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1895 เรินท์เกนได้ค้นพบรังสีชนิดใหม่ ซึ่งสำคัญต่อการแพทย์อย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นครั้งแรกที่สามารถมองเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ โดยไม่ต้องทำให้บาดเจ็บอยากรู้มากกว่านี้ไหม

วัวซ์บวร์ก
รังสีเอ็กซ์เรย์
เอาส์บวร์ก ค.ศ.1897
ปีค.ศ.1893 รูดอล์ฟ ดีเซลจดลิขสิทธิ์เครื่องยนต์ชนิดใหม่ แต่กว่าดีเซลและวิศวกรในโรงงานเครื่องจักรของเมืองเอาส์บวร์ก (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น MAN) จะสร้างเครื่องยนต์ที่ใช้งานได้จริงก็ต้องรอถึงปีค.ศ.1897 ปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนที่ไว้ใจได้และทนทานสำหรับเรือ รถโดยสารและรถบรรทุกทั่วโลก
เอาส์บวร์ก
เครื่องยนต์ดีเซล
มิวนิก ค.ศ.1810
“สิ่งประดิษฐ์” ที่อาจจะเลื่องชื่อที่สุดของมิวนิกคือเทศกาลออคโทเบอร์เฟสต์ ซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปีค.ศ.1810 ในรูปแบบงานแข่งม้า เนื่องในโอกาสพิธีอภิเษกของมกุฎราชกุมารลุดวิก ปัจจุบันเทศกาลนี้มีผู้เข้าชมงานกว่า 6 ล้านคนต่อปี ถือเป็นงานเทศกาลประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลกมิวนิกยังมีโอกาสทางวิชาการมากมาย มหาวิทยาลัยและอะคาเดมี 15 แห่ง สถาบัน Max-Planck 11 แห่ง สถาบัน Fraunhofer 3 แห่ง และสถาบัน Leibniz 4 แห่ง ศูนย์ Helmholtz ในนอยแฮร์แบร์กทำให้การวิจัยและการศึกษาในและรอบมิวนิกไม่เป็นสองรองใคร

มิวนิก
เทศกาลออคโทเบอร์เฟสต์