เอไอในสังคม pixbay.com

เอไอในสังคม

เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นว่า ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เราสามารถใช้ในการใช้ชีวิตในสังคมในหลากหลายรูปแบบได้ เอไอจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนหลายคนดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถรับมือการอุปสรรคต่างๆ ทั่วโลก เช่น วิกฤตการณ์โลกร้อนหรือวิกฤตการณ์โรคระบาด
 

ในปัจจุบัน จึงคนมาลงทุนเพื่อการพัฒนาระบบเอไอเป็นเงินมหาศาลทั่วโลก นั่นแสดงให้เห็นถึง สมรรถภาพทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีเอไอ อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้งานเทคโนโลยีเอไอที่เพิ่มสูงขึ้น หลายคนจึงตั้งคำถามสงสัยหลายคำถามขึ้นในใจ เช่นในเรื่องของความสำคัญของคุณค่าที่มนุษย์ให้ความสำคัญ เช่น ความยุติธรรม อิสรภาพ การเก็บรักษาข้อมูล ความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อการกระทำใดกระทำหนึ่ง ไม่มีการพัฒนาการด้านใดของมนุษย์ทีทำให้เราต้องขบคิดอย่างจริงจังว่า เราจะใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีให้เข้ากับบริบททางสังคมอย่างสมานฉันได้อย่างไร แต่เราก็ได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างสิ้นเชิงและจะเปลี่ยนชีวิตของเราต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต

คุณธรรมกับเครื่องจักร
อัลกอริธึมเปลี่ยนชีวิตรักของหลายต่อหลายคนผ่านแอพหาคู่ และยังช่วยเราดูแลบ้านผ่านระบบ Smart Home ช่วยตัดสินใจซื้อของและยังส่งผลต่อการเจรจาโต้ตอบกันในสังคม นอกจากนี้ เอไอยังจะช่วยเลี้ยงเด็ก ดูแลคนไข้ กระจายงานและเครดิตเงินกู้ รวมถึงการตัดสินชีวิตเป็นหรือตายผ่านอาวุธที่ปฏิบัติการด้วยตัวเอง เครื่องจักอันชาญฉลาดจะพัฒนาแบบแผนพฤติกรรมการทำงานของตัวเอง ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ และในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครสามารถใช้งานวิจัยพฤติกรรมที่มีอยู่แล้วมาอธิบายได้ การกระทำการที่ต้องใช้คุณธรรมโดยปราศจากจิตสำนึกและความรู้สึกผิดชอบช่วยดีจะเป็นไปได้หรือไม่ เราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเอไอ ที่คอยช่วยเหลือและไม่สร้างผลเสียให้มนุษย์เราได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอหลายคนเชื่อว่า มีแผนกงานวิจัยใหม่เพียงแผนกเดียวที่สามารถให้คำตอบแก่คำถามดังกล่าวได้ นั่นคือ “พฤติกรรมเครื่องจักรศึกษา (Machine Behaviour)” ซึ่งเป็นการวิจัยพฤติกรรมเครื่องจักร และสิ่งที่ทุกคนรู้กันก็คือเรื่องที่ว่า เราต้องพยายามหาคำตอบให้แก่คำถามสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมตั้งแต่วันนี้ว่า เครื่องจักรในอนาคตควรมีพฤติกรรมบนพื้นฐานใดเป็นหลัก


เครื่องจักรคุณธรรม
นักวิจัย Iyad Rahwan กำลังทำวิจัยที่สถาบันวิจัยด้านการศึกษาที่สถาบัน Max Planck ในเบอร์ลินและที่ MIT Media Lab ในบอสตัน โดยมีโครงการวิจัยที่ชื่อ เครื่องจักคุณธรรม (The Moral Machine) เป็นงานศึกษาวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในด้านจริยธรรมของเครื่องจักร เราได้ใช้แบบสอบถามที่สามารถโต้ตอบกับผู้ทำแบบสอบถามได้มาศึกษาว่า ผู้คนจากหลายพื้นที่ทั่วโลกต่างใช้เหตุผลทางจริยธรรมแบบไหนในการตัดสินใจกระทำการใดกระทำการหนึ่ง และดูว่าเราสามารถพัฒนากฎระเบียบพฤติกรรมสำหรับเอไอจากผลการศึกษาดังกล่าวได้หรือไม่ เช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนเองได้ควรจะกระทำการใดหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ได้ โดยเอไอจะต้องตัดสินใจว่า ควรจะขับรถไปทางไหนซึ่งก็คือการตัดสินใจว่าใครจะรอดจากอุบัติเหตุ ผลการวิจัยระบุว่า ผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมดต้องการช่วยชีวิตผู้คนให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเด็กและกลุ่มคนที่ปฏิบัติตามกฎจราจร แต่เมื่อเราเข้าไปดูการวิจัยอย่างละเอียด เราจะพบว่าแท้จริงแล้วไม่มีมาตรฐานทางจริยธรรมใดที่เป็นมาตรฐานร่วมกันของคนทั้งโลก ผู้เข้าร่วมวิจัยจากฝรั่งเศสและอเมริกาใต้ต่างก็อยากช่วยชีวิตผู้หญิงและเด็กมากกว่าผู้ชาย ผู้เข้าร่วมจากญี่ปุ่นอยากช่วยชีวิตผู้สูงอายุด้วย และผู้เข้าร่วมจากเยอรมนีส่วนใหญ่ไม่อยากตัดสินใจเองและอยากให้เป็นเรื่องของ “ชะตาฟ้าลิขิต” ว่าใครจะอยู่ใครจะไป
 

The Moral Machine © moralmachine.mit.edu, Screenshot  
Embedded Code - 1

 

ตั้งโปรแกรมให้มีความยุติธรรม
คนไหนควรจะได้เครดิตกู้เงิน คนไหนควรจะได้รับเชิญมาสอบสัมภาษณ์งาน คนไหนควรจะออกจากคุกได้เร็วขึ้น ในอนาคต คอมพิวเตอร์จะมีส่วน (ช่วยเรา) ในการตัดสินใจเกี่ยวกับมนุษย์เรามากขึ้น โดยไม่ควรมีการเลือกปฎิบัติกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งให้ต่างจากกลุ่มอื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นการเลือกปฎิบัติโดยเจตนา โดยมักจะเกิดขึ้นในระบบคัดกรองอัตโนมัติที่เรานำมาใช้งานกันอยู่แล้ว ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ และเอไอจะสามารถเรียนรู้เพื่อทำงานอย่างเป็นธรรมได้อย่างไร เราต้องเริ่มด้วยการตรวจสอบรับรองให้เอไอไม่ได้รับป้อนข้อมูลที่ทำให้ตัวเอไอเหยียดคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องดังกล่าวคือความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์อันเป็นเหตุเป็นผลของสาเหตุและผลที่ตามมา ความเข้าใจความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลแบบไม่ซับซ้อนมักจะทำให้ความเข้าใจผิดเกิดขึ้น โดยความสัมพันธ์ทางเหตุและผลดังกล่าวของการเรียนรู้ของเครื่องจักรถือเป็นด้านการวิจัยที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมาก เราจะต้องวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในบริบทอย่างละเอียดและลงโปรแกรมไว้ในอัลกอริธึม แต่คำถามที่เรายังคงถามตัวเองอยู่ก็คือ “อะไรคือการตัดสินใจอย่างยุติธรรม” เพราะเรายังไม่มีคำนิยามของคำว่ายุติธรรมที่คนจากทุกวัฒนธรรมต่างยอมรับในระดับเดียวกันเลย

เอไอสามารถเป็นผู้รับผิดชอบได้หรือไม่
ใครจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย หากเครื่องจักรที่สามารถเรียนรู้และกระทำการด้วยตัวเองเป็นตัวสร้างความเสียหายดังกล่าว ผู้รับผิดชอบควรจะเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้ผลิตหรือผู้ใช้งาน ระบบกฎหมายทั่วโลกถูกบัญญัติขึ้นสำหรับตัวมนุษย์เอง ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีผลทางกฎหมายต่อตัววัตถุสิ่งของ โดยผู้ที่ต้องรับผิดชอบในกรณีดังกล่าวจะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องจักร หากแต่จะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้งานสิ่งของนั้นๆ อย่างไรก็ตาม กฎหมายแต่ละบทจะใช้สำหรับเครื่องจักร ซึ่ง ”สร้างเสร็จแล้ว” ในช่วงที่ที่มีการซื้อขายเกิดขึ้น แต่เอไอที่เรียนรู้ได้เองไม่มีการสร้างเสร็จ เพราะต้องเปลี่ยนแปลงผ่านการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เมื่อเอไอตัวหนึ่งตัดสินใจกระทำการบางอย่างเอง ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของเทคโนโลยีเอไอ เอไอตัวดังกล่าวไม่ต้องถือเป็นนิติบุคคลที่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตัวเองงั้นหรือ ระบบกฎหมายจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด นักกฎหมายบางคนกล่าวว่า เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่บางคนกลับเห็นว่า คนเราไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลอัจฉริยะทำงานโดยที่ตัวเองไม่รับผิดชอบไม่ได้ และก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า เราจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาข้อบัญญัติทางกฎหมายใหม่ทั้งหมด

คุณค่าของข้อมูล
เทคโนโลยีเอไอสามารถประเมินค่าข้อมูลต่างๆ ได้เป็นจำนวนมหาศาล โดยมักจะใช้สำหรับการลงโฆษณาแบบเจาะกลุ่มในวงการการตลาด การเสนอเว็ปไซต์แนะนำในโปรแกรมค้นหาหรือแช็ทบ็อต (chatbot) ซึ่งเป็นระบบโต้ตอบบทสนทนาออนไลน์ ที่สามารถตอบคำถามได้ทันที โดยไม่ได้มีคนมาตอบเอง บริษัทเอกชนต่างใช้แช็ทบ็อตในงานบริการลูกค้าหรือในร้านค้าออนไลน์ แต่ก็ใช้บ่อยในเครื่อข่ายโซเชียล แต่เราจะต้องมีข้อมูลคุณภาพสูงเพื่อช่วยให้แช็ทบ็อตสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง หากเอไอทำการเรียนรู้กับตัวอย่างที่ผิด เอไอก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้คำพูดโต้ตอบที่เหยียดผู้อื่น หยาบคายหรือทำร้ายจิตใจผู้อื่นได้ และก็มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นให้เห็นในช่วงปลายปี 2020 กับเอไอที่ชื่อ ลี ลูดา (Lee Luda) ตัวอวทาร์ของแช็ทบ็อตดังกล่าวเป็นตัวการ์ตูนเด็กผู้หญิง โดยมีข้อมูลพื้นฐานอยู่ประมาณหนึ่งล้านล้านประโยคแช็ท ซึ่งมาจากการที่มีคนมาพูดคุยกับลี ลูดาถึง 750,000 คนในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่ลีก็ได้เรียนรู้มุมมองความคิดที่ผิดๆ จากกลุ่มที่เข้ามาพูดคุยดังกล่าวบางกลุ่ม ทำให้ลีโต้ตอบด้วยภาษาที่ทำร้ายจิตใจคนอื่น หรือที่เหยียดเพื่อนมนุษย์ด้วยกันบ่อยขึ้น จนท้ายที่สุดต้องมีคนนำตัวอวทาร์ตัวดังกล่าวออกจากเครือข่ายเน็ตเลยทีเดียว

หุ่นยนต์เข้าสังคม
ในโรงงานที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกันในปัจจุบัน คนงานและเครื่องจักรต่างก็ทำงานเป็นทีมที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว โดยหุ่นยนต์จะคอยรับหน้าที่การทำงานที่ลำบาก อันตรายหรือน่าเบื่อ ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่เพื่อนร่วมงานที่เป็นคน ในอนาคต หุ่นยนต์และเทคโนโลยีเอไอก็จะมีหน้าที่สนับสนุนและดูแลผู้ป่วยและคนชรามากขึ้นเรื่อยๆ และเครื่องจักรชาญฉลาดที่ต้องติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างก็จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายมนุษย์มากขึ้นด้วย โดยจะมีหัว ร่างกาย แขนสองข้างหรือก็อาจจะมีขาสองข้างเพิ่มขึ้นมาด้วย จึงทำให้เครื่องจักรดังกล่าวสามารถปรับตัวเข้ากับมนุษย์ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ที่ชื่อเป้ปเป้อ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยขนาดเล็กเพียง 1.20 เมตร มีตากลมดำและทั้งตัวเป็นสีขาวเป็นประกาย เป้ปเป้อพูดได้หลายภาษา สามารถจดจำหน้าตา สังเกตอารมณ์คนและรู้ว่าจะต้องมีปฏิกิริยากับอารมณ์ดังกล่าวอย่างไร หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยตัวดังกล่าวสามารถแบ่งเบาหน้าที่ได้หลายหน้าที่เพื่อลดภาระของคนทำงานดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ มันไม่สามารถเข้ามาแทนที่ความสัมพันธ์ของมนุษย์ แต่สามารถช่วยให้มนุษย์มีเวลาสร้างความสัมพันธ์ได้มากขึ้น

ศิลปะสังเคราะห์
เหล่าศิลปินต่างก็คิดค้นหลากหลายวิธีในการแสดงและถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างโลกที่เราอยู่และโลกดิจิตอล ซึ่งเอไอก็ได้มีบทบาทสำคัญในนวนิยายวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาเป็นเวลานานแล้ว แต่เอไอจะสามารถสร้างผลงานศิลปะเองได้หรือไม่ การสร้างผลงานทางศิลปะเป็นกระบวนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ที่มีการรับรู้ การใช้จินตนาการและการหยั่งรู้อันลึกซึ้งเป็นส่วนสำคัญ เอไอจะสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งที่ตัวเองไม่เข้าใจอารมณ์ขัน ไม่รู้จักความโศกเศร้าและความสุขใจ อีกทั้งยังไม่มีจิตสำนึกรับรู้ได้หรือไม่
ชุดคำสั่งอัลกอริธึมที่ทำงานอย่างแนบเนียนทำให้เกิดผลงานภาพวาด กลอนและเพลงต่างๆ ขึ้นมากมายในปัจจุบัน หอประมูลสินค้าที่ชื่อ Christie’s ได้ประมูลภาพที่เอไอสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2018 ศิลปินชาวมิวนิค Mario Klingemann ใช้การแสดงผ่านสื่อวีดีโอแสดงหน้าผู้คนที่ไม่มีอยู่จริง ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาจริง เอไอที่เรียนรู้เองได้จะรวบรวมใบหน้าของผู้เข้าชมผลงานไว้ในงานศิลปะ ซึ่งทำให้งานศิลปะมีการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเอไอยังใช้โปรแกรมดีพเฟค (Deepfake) ให้นักร้องที่จำลองมาจาก Taylor Swift ร้องเพลงที่โปรแกรมสร้างขึ้นอีกที โดยอัลกอริธึมจะวิเคราะห์เพลงทุกเพลงของนักร้องคนดังกล่าวเพื่อผลิตเพลงใหม่ ที่มีความเป็น Taylor Swift อย่างถึงที่สุด

“เอไอไม่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตัวเอง แต่สามารถช่วยให้เรามีความสร้างสรรค์ได้”
นี่เป็นคำกล่าวของคุณ Claudia Janet Birkholz นักเปียโนและอาจารย์สอนเปียโนและดนตรีร่วมสมัยในสถาบันศิลปะในเมืองเบรเมน


ใครเป็นเจ้าของงานศิลปะ
หากเอไอสามารถผลิตผลงานทางศิลปะออกมาได้ ใครล่ะจะเป็นผู้ครอบครองผลงานดังกล่าว หากไม่มีมนุษย์เป็นคนช่วย ศิลปะเอไอจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ เพราะอย่างน้อยก็ต้องมีใครสักคนเขียนโปรแกรมสำหรับการสร้างศิลปะมาก่อน แล้วใครล่ะที่เป็นศิลปินคนนั้น ในปี 2018 หอประมูล Christie`s โฆษณาภาพ Portrait of Edmond de Belamy ว่าเป็นงานศิลปะแรกที่ไม่ได้ผลิตด้วยมือมนุษย์ หากแต่ด้วยฝีมือของเอไอ ซึ่งกลุ่มศิลปินฝรั่งเศส Obvious เป็นผู้ได้รับเงินประมูลเป็นมูลค่าถึง 432,500 ดอลล่าร์ ในการผลิตภาพดังกล่าว กลุ่ม Obvious ได้ป้อนภาพถ่ายของภาพวาดต่างๆ เข้าไปในอัลกอริธึมแบบเปิดและฝึกฝนให้มันสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการพัฒนาภาพออกมาเองได้ ศิลปินจะเลือกภาพใดภาพหนึ่ง แต่งชื่อให้ภาพและเสนอขายต่อไป โดยโปรแกรมเมอร์ของอัลกอริธึมไม่ได้ถูกกล่าวถึงและยังไม่ได้รับอะไรจากการขายประมูลดังกล่าว มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คิดว่าผู้ที่สมควรที่จะได้รับการยอมรับมากที่สุด ควรจะเป็นผู้ที่ฝึกและป้อนข้อมุลให้อัลกอริธึม ซึ่งก็คือกลุ่มศิลปิน Obvious ในกรณีดังกล่าว

Cooperation partners

GI-Logo MPG Logo