© EHT Cooperation
หลุมดำ
ภาพที่เราเห็นจากด้านบนอาจดูไม่ชัดเมื่อเราเห็นเป็นครั้งแรก แต่ภาพดังกล่าวก็ได้ขึ้นหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์จากหลายประเทศทั่วโลกในช่วงฤดูใบไม้ผลิในปี 2019 เพราะถือเป็นภาพถ่ายหลุมดำภาพแรกของโลก
โดยในการถ่ายภาพดังกล่าว จะต้องมีกล้องโทรทรรศน์ทีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่พอๆ กับโลกเราทั้งใบ เพราะกล้องดังกล่าวไม่มีอยู่จริง เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงรวบรวมกล้องโทรทรรศน์คลื่นวิทยุทั้งแปดกล้องที่ตั้งอยู่ในที่ต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของโลกให้เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบออนไลน์ขนาดมหึมาหรือที่เรียกว่ากล้อง Event Horizon Telescope (EHT) ในปี 2017 กล้องโทรทรรศน์ที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ APEX ในประเทศชิลี กล้องโทรทรรศน์ IRAM ในประเทศสเปนและกล้องโทรทรรศน์ของสถานี Amundsen Scott ในขั้วโลกใต้ การวัดค่าจะต้องอาศัยนาฬิกาอะตอมที่ต้องทำงานร่วมกันในระดับนาโนวินาที © EHT Collaboration, Johnson / APEX, IRAM, G. Narayanan, J. McMahon, JCMT/JAC, S. Hostler, D. Harvey, ESO/C. Malin
ข้อมูลที่รวบรวมเพื่อวัดค่ามีปริมาณมหาศาล โดยจะถูกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์จำนวนนักไม่ถ้วนและขนส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุด เพราะการส่งผ่านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจะต้องใช้เวลานานกว่ามาก
โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปวิเคราะห์ในเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของสถาบันวิจัยวิทยุดาราศาสตร์ สถาบัน Max Planck ในเมืองบอน และหอสังเกตการณ์ Haystack สถาบันวิจัย MIT ในเมืองบอสตัน
© MPI für Radioastronomie, Bonn
หลังจากผ่านการคำนวณและการประเมินผลถึงเกือบสองปี เหล่านักวิจัยก็สามารถนำเสนอภาพถ่ายภาพแรกของหลุมดำได้สำเร็จในเดือนเมษายน ปี 2019
© EHT Collaboration
เราจะเห็นภาพของหลุมดำขนาดใหญ่มากในศูนย์กลางของกาแล็กซี่ยักษ์รูปวงรีที่ชื่อ M87 ในกลุ่มกาแล็กซี่ Virgo ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเราเพียง 55 ล้านปีแสงและถือว่ามีระห่างที่ไม่ไกลนักเมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างของวัตถุต่างๆ ในอวกาศ
โดยในการถ่ายภาพดังกล่าว จะต้องมีกล้องโทรทรรศน์ทีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่พอๆ กับโลกเราทั้งใบ เพราะกล้องดังกล่าวไม่มีอยู่จริง เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงรวบรวมกล้องโทรทรรศน์คลื่นวิทยุทั้งแปดกล้องที่ตั้งอยู่ในที่ต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของโลกให้เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบออนไลน์ขนาดมหึมาหรือที่เรียกว่ากล้อง Event Horizon Telescope (EHT) ในปี 2017 กล้องโทรทรรศน์ที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ APEX ในประเทศชิลี กล้องโทรทรรศน์ IRAM ในประเทศสเปนและกล้องโทรทรรศน์ของสถานี Amundsen Scott ในขั้วโลกใต้ การวัดค่าจะต้องอาศัยนาฬิกาอะตอมที่ต้องทำงานร่วมกันในระดับนาโนวินาที © EHT Collaboration, Johnson / APEX, IRAM, G. Narayanan, J. McMahon, JCMT/JAC, S. Hostler, D. Harvey, ESO/C. Malin
ข้อมูลที่รวบรวมเพื่อวัดค่ามีปริมาณมหาศาล โดยจะถูกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์จำนวนนักไม่ถ้วนและขนส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุด เพราะการส่งผ่านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจะต้องใช้เวลานานกว่ามาก
โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปวิเคราะห์ในเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของสถาบันวิจัยวิทยุดาราศาสตร์ สถาบัน Max Planck ในเมืองบอน และหอสังเกตการณ์ Haystack สถาบันวิจัย MIT ในเมืองบอสตัน
© MPI für Radioastronomie, Bonn
หลังจากผ่านการคำนวณและการประเมินผลถึงเกือบสองปี เหล่านักวิจัยก็สามารถนำเสนอภาพถ่ายภาพแรกของหลุมดำได้สำเร็จในเดือนเมษายน ปี 2019
© EHT Collaboration
เราจะเห็นภาพของหลุมดำขนาดใหญ่มากในศูนย์กลางของกาแล็กซี่ยักษ์รูปวงรีที่ชื่อ M87 ในกลุ่มกาแล็กซี่ Virgo ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเราเพียง 55 ล้านปีแสงและถือว่ามีระห่างที่ไม่ไกลนักเมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างของวัตถุต่างๆ ในอวกาศ