ลายมือของมนุษย์เนอันเดอทัล © Hipolito Collado

มนุษย์เนอันเดอทัลในตัวเรา

เมื่อ “มนุษย์ปัจจุบัน” ออกจากทวีปแอฟริกาเพื่อไปตั้งรกรากที่ยุโรปและเอเชีย ก็ได้ไปพบเจอกับมนุษย์สายพันธุ์อื่นที่เคยอยู่ตรงนั้นมาก่อน
 

มนุษย์เนอันเดอทัลยังคงอยู่ในตัวเรา การพัฒนาของวิธีการวิจัยตรวจสอบที่ทันสมัยที่สุดทำให้นักวิจัย Svante Pääbo และทีมวิจัยสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ดีเอ็นเอยุดโบราณการยังคงมีเหลือให้เห็นอยู่ในยีนของมนุษย์ปัจจุบัน

ในบางพื้นที่มนุษย์สายพันธุ์เจ้าถิ่นจะอาศัยใกล้กันและอยู่ร่วมกัน และมีหลักฐานพิสูจน์ว่าต่างก็มีลูกด้วยกันด้วย ยีนพันธุกรรมบางยีนที่มนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนได้รับมาจากมนุษย์เนอันเดอทัลและเดนิโซว่า ถือเป็นยีนที่มีประโยชน์มากและอยู่ติดตัวเราจนถึงปัจจุบัน
โดยมีตัวอย่างสองตัวอย่าง ดังนี้ ในปัจจุบัน ผู้หญิงหนึ่งในสามในยุโรปมียีนแบบที่เป็นตัวรับฮอร์โมนโปรเกสเตอร์โรนที่มีที่มาจากมนุษย์เนอันเดอทัล ผู้หญิงกลุ่มดังกล่าวจะมีปัญหาการแท้งลูกน้อยกว่ากลุ่มอื่น จึงทำใหมีลูกมากกว่าผู้หญิงกลุ่มอื่น้โดยเฉลี่ย ผู้คนในทิเบตต่างก็ได้รับยีนสายพันธุ์พิเศษของมนุษย์เดนิโซว่า ทำให้สามารถจำกัดปริมาณฮีโมโกลบินหรือสารสีแดงของเม็ดเลือดแดงในเลือด และทำให้อยู่ในพื้นที่สูงที่ลำบากต่อการอยู่อาศัยและมีออกซิเจนน้อยได้


 © Stefan Fichtel / ixtract für Max-Planck- Gesellschaft ภาษาของมนุษย์เนอันเดอทัล
เหล่านักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันต่างเชื่อว่า มนุษย์เนอันเดอทัลสามารถพูดได้เช่นเดียวกับเรา โดยอย่างน้อยก็มีเงื่อนไขทางร่างกายเพียงพอต่อการสื่อสาร กล่าวคือ มีการสรุปผลวิเคราะห์ชิ้นส่วนกระดูกขนาดเล็กที่เก่าแก่ถึง 60,000 ปีว่า กระดูกไฮออยด์ของมนุษย์เนอันเดอทัลมีรูปร่างคล้ายกับกระดูกไฮออยด์ของมนุษย์เราในปัจจุบัน กระดูกไฮออยด์มีกล้ามเนื้อและเส้นยึดต่างๆ ที่ทำให้เราสามารถขยับลิ้นได้ และมนุษย์เนอันเดอทัลก็มียีนที่จำเป็นต่อการพูดสื่อสารเช่นเดียวกัน เป็นที่แน่นอนว่า มนุษย์เนอันเดอทัลสามารถส่งต่อความรู้ที่มีความซับซ้อนจากรุ่นสู่รุ่นได้ โดยมีหลากหลายความสามารถเป็นเครื่องพิสูจน์ เช่น การผลิตเครื่องมือที่ประณีต การใช้ไฟหรือการล่าสัตว์ขนาดใหญ่เป็นกลุ่ม

  The anatomy of the hyoid bone © Sebastian Kaulitzki / Alamy Stock Foto
โครงกระดูกของกระดูกไฮออยด์ (สีแดงในภาพ) มีบทบาทสำคัญในการพูดสื่อสาร

ศิลปินแรกเริ่ม

เราเข้าใจเป็นเวลานานว่า มนุษย์เนอันเดอทัลเป็นมนุษย์ที่งุ่มง่ามและไม่ฉลาดเท่าไหร่นัก โดยความเชื่อดังกล่าวอาจจะมาจากโครงสร้างร่างกายที่หยาบกว่ามนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียน แต่ไม่ได้เพียงแค่ “มนุษย์ปัจจุบัน” เท่านั้นที่สามารถคิดเชิงนามธรรมและสร้างสรรค์งานศิลปะได้ กล่าวคือ มนุษย์เนอันเดอทัลได้เริ่มวาดภาพฝาผนังถ้ำในสเปนมากว่า 64,000 ปีแล้ว โดยใช้สีแดงและดำมาวาดภาพที่ประกอบไปด้วยลายเส้น ลายจุด ลายขีดและลายมือ ซึ่งตัวผู้วาดจะต้องคำนึงถึงทิศทางแสง สีย้อมที่ใช้และเลือกฝาผนังที่เหมาะสมในถ้ำ พวกเราต่างก็คิดผิดมาตลอดว่า มีเพียง “มนุษย์ปัจจุบัน” เท่านั้นที่สามารถคิดเชิงนามธรรมและสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ แต่ตอนนี้เราทราบกันดีแล้วว่า มนุษย์เนอันเดอทัลก็มีความสามารถดังกล่าวด้วยเช่นกัน


 © Hipolito Collado ลายมือของมนุษย์เนอันเดอทัลคนหนึ่งในถ้ำมัลตราวิเอโซทางตะวันตกของสเปนมีอายุประมาณ 66,000 ปี ซึ่งหมายความว่ามีอายุเก่าแก่กว่าร่องรอยเดิมของมนุษย์ปัจจุบัน (มนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียน) ที่เคยคาดว่าเก่าแก่ที่สุดถึง 20,000 ปีในยุโรป

การค้นพบญาติคนใหม่
กระดูกนิ้วมือขนาดจิ๋วถึงกลับทำให้วงการวิทยาศาสตร์สะเทือนในปี 2010 ในปี 2010 นักวิจัย Johannes Krause และ Svante Pääbo แห่งสถาบันวิจัยด้านวิวัฒนาการมานุษยวิทยา สถาบัน Max Planck ในเมืองไลป์ซิค ได้ถอดดีเอ็นเอออกมาจากกระดูกนิ้วมือขนาดจิ๋วที่มีอายุถึง 70,000 ถึง 80,000 ปี เป็นกระดูกจากถ้ำเดนิโซว่าทางใต้ของไซบีเรีย และสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ เด็กผู้หญิงซึ่งเป็นเจ้าของกระดูกมือดังกล่าวเป็นมนุษย์สายพันธุ์ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน จนเป็นที่มาของมนุษย์สายพันธุ์เดนิโซว่า ในปี 2012 เทคนิควิจัยทางโบราณคดีที่พัฒนาขึ้นใหม่ก็ทำให้เราสามารถไขรหัสกลุ่มยีนในเซลล์ทั้งกลุ่มของเด็กผู้หญิงคนดังกล่าวได้ ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่แห่งการวิจัยประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ เพราะมนุษย์เดนิโซว่าก็พัฒนาการมาจากมนุษย์สายพันธุ์ Homo erectus เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์เนอันเดอทัลและ “มนุษย์ปัจจุบัน” กล่าวคือ เป็นมนุษย์สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ Homo erectus โดยตรง

  Fingerknochen © Max-Planck-Institut für evolutionäre Anthropologie, Leipzig

ถ้ำเดนิโซว่าจึงเปรียบเสมือนแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่ต่างจากแหล่งขุดค้นอื่น โดยคาดว่าเคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเมื่อประมาณ 280,000 ปีก่อน

 
© MPG

ผู้ร่วมจัดงาน

GI-Logo MPG Logo