การเดินทางของยีนพันธุกรรม

“มนุษย์ปัจจุบัน” ยุคแรกเริ่มได้เริ่มเดินทางออกจากทวีปแอฟริกาอย่างน้อยเป็นเวลา 200,000 ปีก่อนแล้ว แต่มนุษย์สายพันธุ์อื่นกลับเลือกที่จะอยู่ในกลุ่มของตัวเองทั้งในยุโรปและเอเชียต่อไป การขยายพันธุ์ของมนุษย์สายพันธ์โฮโม ซาเปียนเริ่มประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในช่วง 60,000 ปีก่อน โดยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดีและค่อยๆ ตั้งรกรากตามที่ต่างๆ ทั่วโลก มีมนุษย์จากหลายสายพันธ์ุอาศัยอยู่ใกล้และอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานในหลายต่อหลายพื้นที่ เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ใช้วิธีการวิจัยใหม่ล่าสุดในการพิสูจน์ให้เห็นว่า ยังมีร่องรอยทางพันธุกรรมของมนุษย์สายพันธุ์เนอันเดอทัลและเดนิโซว่าหลงเหลือในมนุษย์ในปัจจุบันอยู่

ประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติเป็นหัวข้อวิจัยที่เป็นที่สนใจอย่างมาก โดยนักวิจัยค้นพบฟอสซิลและสิ่งประดิษฐ์สมัยก่อนอยู่ตลอดเวลา และวิธีการวิจัยที่ทันสมัยก็ช่วยให้เราเข้าใจความเชื่อมโยงของเรื่องต่างๆ ในมุมมองใหม่
โดยวิธีการวิเคราะห์ผลก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ผู้อำนวยการ Svante Pääbo สถาบันวิจัยด้านวิวัฒนาการมานุษยวิทยา สถาบัน Max Planck ในเมืองไลป์ซิก นับว่าเป็นผู้ก่อตั้งแผนงการวิจัยใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่เรียกว่า วิชาศึกษายีนยุคดึกดำบรรพ์ ผลวิเคราะห์ยีนพันธุกรรมของซากกระดูกที่ขุดพบได้เปลี่ยนแปลงภาพความเข้าใจของพัฒนาการมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ภาพต่อไปนี้เป็นภาพผลการวิจัยล่าสุดของปี 2020 ผลลัพท์การวิจัยล่าสุดมีอะไรบ้าง

จุดกำเนิดของมนุษย์ชาติ
สายพันธุ์ใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในวันสองวัน หากแต่เป็นกระบวนการที่มีระยะเวลานานมาก นั่นหมายรวมถึงการกำเนิดของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียน ในปี 2017 ได้มีการค้นพบซากกระดูกของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนยุคแรกๆ ที่มีอายุกว่า 300,000 ปีในการขุดทางโบราณคดีที่เมือง Jebel Irhoud ประเทศมอร็อคโค หลักฐานดังกล่าวไม่ตรงกับทฤษฏีที่เชื่อถือกันมานานว่า มนุษย์ปัจจุบันมีต้นกำเนิดทางตะวันออกของแอฟริกา ในปัจจุบัน เราทราบกันดีแล้วว่า “มนุษย์ปัจจุบัน” ได้ตั้งรกรากอาศัยอยู่ทั่วทั้งทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ประมาณ 300,000 ปีก่อน และฟอสซิลอายุถึง 260,000 ปีที่พบที่ Florisbad ในประเทศแอฟริกาใต้ก็ยืนยันเรื่องดังกล่าว การโยกย้ายถิ่นฐานและวิวัฒนาการที่ซับซ้อนในทวีปแอฟริกาทั้งทวีปทำให้มนุษย์ชาติถือกำเนิดขึ้น โดยมีเครือข่ายทางสังคมเป็นเครื่องมือส่งผ่านยีนพันธุกรรมและเทคนิคทางวัฒนธรรมในพื้นที่ที่ห่างกันออกไปได้


Jebel Irhoud, Marokko © Shannon McPherron, MPI EVA Leipzig, License: CC-BY-SA 2.0


แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานของ “มนุษย์ปัจจุบัน”

300,000 ปี
ถ้ำเยเบล อิรโฮด (Jebel Irhoud)
ปี 2017 ประเทศมอร็อคโค

โครงกระดูกและเครื่องมือที่ทำจากหินของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนซึ่งมีอายุถึง 300,000 ปี เป็นตัวล้มล้างทฤษฏีก่อนหน้าที่เชื่อว่า ”มนุษย์ปัจจุบัน” ได้พัฒนาในตะวันออกของแอฟริกาโดยไม่ข้องเกี่ยวกับมนุษย์สายพันธุ์อื่น

190,000 - 200,000  ปี
โอโม คิบิช (Omo Kibish)
ปี 1967 ประเทศเอธิโอเปีย

กระดูกที่พบที่ชื่อ Omo I-III เป็นซากที่หลงเหลืออยู่ของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนที่เก่าแก่ที่สุด เราเชื่อกันมานานว่า มันเป็นหลักฐานของการกำเนิด “มนุษย์ปัจจุบัน” ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา

90,000 ปี
ทะเลทราย อัลวุสต้า (Al Wusta)
ปี 2018 ประเทศซาอุดิอาระเบีย

กระดูกนิ้วมือที่พบในทะเลทรายเนฟุด (Nefud) เป็นฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียน นอกทวีปแอฟริกาที่เราได้ค้นพบ ปัจจุบันคาบสมุทรอาระเบียเป็นสถานที่ที่แห้งแล้งมาก แต่ในสมัยก่อนเป็นที่ที่มีทั้งแม่น้ำ ทะเลสาปและทิวทัศน์อันเขียวชอุ่ม

70,000 - 80,000 ปี
ถ้ำเดนิโซว่า
ปี 2010 ประเทศรัสเซีย

การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของกระดูกนิ้วมือขนาดจิ๋วกระดูกหนึ่งทำให้เราค้นพบข้อมูลความรู้ใหม่ที่น่าอัศจรรย์ใจ กล่าวคือ มันเป็นกระดูกของสายพันธุ์หนึ่งของมนุษย์ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน

63,000 ปี
ถ้ำต๋ำป่าหลิง
ปี 2009 ประเทศลาว

กระดูกของผู้หญิงคนหนึ่งที่พบที่นี่เป็นฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของ “มนุษย์ปัจจุบัน” ที่เรารู้จักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

45,000 ปี
อุสอิชิม (Ust’Ishim)
ปี 2008 ประเทศรัสเซีย

เมื่อประมาณ 45,000 ปีก่อน บรรพบุรุษของชาวยุโรปและเอเชียในปัจจุบันต่างก็เริ่มพัฒนาการในรูปแบบที่ไม่มีการติดต่อกันและกัน กลุ่มยีนในเซลล์ของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนที่เคยอยู่ใน อุสอิชิมช่วยให้เราทราบถึงข้อมูลดังกล่าว

44,000 ปี
ถ้ำเลอัง ตะโดเง
ปี 2017 ประเทศอินโดเนเซีย

ในทั่วโลก การวาดภาพเหมือนของสัตว์และสิ่งมีชีวิตครึ่งคนครึ่งสัตว์ถือเป็นสื่อศิลปทางภาพที่เก่าแก่ที่สุด โดยเป็นศิลปะทีีมี “มนุษย์ปัจจุบัน” เป็นผู้สรรค์สร้าง

42,000 ปี
ถ้ำเนอันเดอธัล
ปี 1856 ประเทศเยอรมนี

ฟอสซิลที่พบในเมืองเนอันเดอธัลได้เป็นที่รู้จักตั้งแต่ในปีศตวรรษที่ 19 ในฐานะกระดูกของรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ มนุษย์สายพันธุ์เนอันเดอทัลที่ได้รับชื่อตามสถานที่ที่พบกระดูกได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่เมื่อประมาณ 40,000 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยีนพันธุกรรมบางตัวของสายพันธุ์ดังกล่าวก็ยังหลงเหลืออยู่ในตัว “มนุษย์ปัจจุบัน” จนถึงทุกวันนี้

42,000 ปี
ทะเลสาปมังโก
ปี 1974 ประเทศออสเตรเลีย

“มนุษย์มังโก” เคยถือเป็นหลักฐานการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปออสเตรเลียเป็นเวลานาน แต่ผลการวิจัยล่าสุดกลับพิสูจน์ให้เห็นว่า มีผู้คนมาตั้งรกรากในออสเตรเลียตั้งแต่เมื่อ 65,000 ปีที่แล้วแล้ว

40,000 ปี
ถ้ำเทียนหยวน
ปี 2003 ประเทศจีน

การวิเคราะห์ยีนพันธุกรรมของกระโดกส่วนน่องของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนคนหนึ่งในถ้าเทียนหยวนใกล้กับกรุงปักกิ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ผู้คนที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมในทวีปอเมริกามีเชื้อสายใกล้เคียงกับชาวเอเชียในปัจจุบันมากกว่าชาวยุโรป

การตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกา
ทวีปอเมริกาเป็นพื้นที่บนบกสุดท้ายที่มนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน แต่เมื่อไหร่และทำไมต้องย้ายไปอยู่ที่นั่น ทฤษฏีที่เป็นที่รู้จักและน่าเป็นไปได้ที่สุดอธิบายว่า มันเป็นการย้ายถิ่นฐานผ่านเส้นทางบนบกระหว่างไซบีเรียและอลาสก้า แต่จะเป็นเส้นทางบนบกได้อย่างไร เส้นทางดังกล่าวในปัจจุบันเป็นช่องแคบเบอริ่ง ซึ่งมีความกว้าง 82 กิโลเมตรและมีความลึกถึง 50 เมตร แต่ในยุคอากาศหนาวเมื่อ 20,000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปัจจุบันมาก และเป็นบริเวณที่มนุษย์อาศัยอยู่ โดยเป็นช่วงที่มีธารน้ำแข็งจำนวนมากในทวีปอเมริกาเหนือ ด้วยเหตุนี้ นักโบราณคดีจึงตั้งข้อสันนิษฐานเป็นเวลานานแล้วว่า มนุษย์บริเวณดังกล่าวเริ่มอพยบลงใต้หลังจากยุคอากาศหนาวสิ้นสุดลง แต่สิ่งที่ขุดพบบางส่วนทางตอนใต้ของทวัปกลับไม่สนับสนุนทฤษฏีดังกล่าว นักวิจัยบางคนจึงเชื่อว่า บริเวณดังกล่าวเป็นมีมนุษย์มาอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยอาจจะเป็นผู้คนที่เดินทางไปยังทวีปอเมริกาโดยเรือจากไซบีเรีย แปซิฟิกทางใต้หรือแม้กระทั่งจากทวีปยุโรป

20,000 ปี
เซร่า ดา กาปิวาร่า (Serra da Capivara)
ช่วงปี 1980 ประเทศบราซิล

อเมริกาเป็นทวีปที่เป็นที่อาศัยของมนุษย์มากว่า 20,000 ปีแล้วหรือไม่ ภาพวาดและวัตถุที่เป็นเครื่องมือทำจากหินและถ่านไม้ที่พบทำให้เราตั้งข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ แต่การกำหนดระยะเวลาที่แน่ชัดก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อตกลง นักวิจัยบางกลุ่มก็ยังเชื่อว่าอย่างน้อยวัตถุที่พบก็เป็นตัวชี้บ่งว่า มนุษย์เคยเดินทางด้วยเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาจากทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา

13,000 ปี
โคลวิส (Clovis)
ปี 1937 ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปลายหอกลักษณะเฉพาะที่ทำจากหินเหล็กไฟเป็นสิ่งของที่เป็นแบบอย่างเฉพาะของวัฒนธรรมโคลวิส ผู้คนที่ผลิตของดังกล่าวเดินทางผ่านเส้นทางเบอริ่งจากไซบีเรีย เราเคยเชื่อกันมานานว่า พวกเขาเป็นชาวอเมริกาที่เก่าแก่ที่สุด

13,000 ปี
ถ้ำใต้น้ำโอโย เนโกร
ปี 2007 ประเทศเม็กซิโก

โครงกระดูกของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งแทบจะมีสภาพสมบูรณ์และวัตถุอื่นๆ ที่ถูกค้นพบในส่วนต่างๆ ของถ้ำดังกล่าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นตัวอธิบายว่า การตั้งถิ่นที่อยู่ในทวีปอเมริกาเป็นกระบวนการที่น่าจะซับซ้อนกว่าที่เราเคยคาดการณ์ไว้
 

ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนที่มนุษย์เราจะเริ่มผลิตผลงานทางศิลปะที่น่าประทับใจ ก็ไม่มีเพียงมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนยุคแรกที่ได้ทิ้งผลงานทางศิลปะที่สำคัญต่างๆ ให้เราได้ชื่นชม หากแต่ยังรวมถึงมนุษย์เนอันเดอทัลอีกด้วย


115,000 ปี
ถ้ำอาวิโอเนส
ปี 2010 ประเทศสเปน

เปลือกหอยเจาะ ร่องรอยภาพสี รวมถึงการผสมสีอันซับซ้อน สิ่งเหล่านี้และวัตถุสื่อความหมายอื่นเป็นสิ่งที่มนุษย์เนอันเดอทัลได้สร้างขึ้นมาในช่วงเวลาเมื่อกว่า 100,000 ปีก่อน

40,000 ปี
ถ้ำชตาเดล
ปี 1939 ประเทศเยอรมนี

รูปแกะสลักครึ่งคนครึ่งสิงโตที่เก่าแก่ประมาณ 40,000 ปี ถือเป็นงานศิลปะในแบบดังกล่าวที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยเป็นงานแกะสลักจากงาช้างแมมมอธที่ทำขึ้นอย่างประณีตและช่วยให้เราได้เห็นภาพโลกแห่งพิธีทางจิตวิญญาณของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียน
  Loewenmensch © Museum Ulm CC BY-SA
35,000 ปี
ถ้ำโชเวท์
ปี 1994 ประเทศฝรั่งเศส


ภาพวาดผนังถ้ำที่มืชื่อเสียงมากทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเป็นภาพวาดที่สวยงามเป็นพิเศษ ในถ้ำโชเวท์ในผาอาร์เดช “มนุษย์ปัจจุบัน” เมื่อประมาณหลายพันปีก่อนได้เป็นผู้สรรค์สร้างงานศิลป์ถึง 400 ภาพโดยมีภาพวาดรูปต่างๆ ถึงประมาณ 1,000 ตัว

  Chauvet-Höhle - Höhlenmalereien Chauvet´s cave horses, Thomas T. from somewhere on Earth, lizensiert unter CC BY-SA 2.0
8,000 ปี
เขตฮาอิล
ปี 2017 ประเทศซาอุดิอาระเบีย

มนุษย์เริ่มฝึกให้หมาป่าเชื่องและเลี้ยงสุนัขอย่างน้อยตั้งแต่เมื่อ 15,000 ปีก่อนแล้ว ภาพวาดแกะสลักกว่า 1,400 ภาพดังกล่าวบนผาหินแสดงถึงความสำคัญของสุนัขในการช่วยมนุษย์ล่าสัตว์ ดูเหมือนว่าสุนัขบางตัวจะมีเชือกล่ามคออีกด้วย

  Hunde © Maria Guagnin et al. / Journal of Anthropological Archaeology

ผู้ร่วมจัดงาน

GI-Logo MPG Logo