การแพทย์

สิ่งประดิษฐ์: การแพทย์

  • สิ่งประดิษฐ์: การแพทย์ // Foto: © SKLA / iStock สิ่งประดิษฐ์: การแพทย์ // Foto: © SKLA / iStock
    คริสทีอาน่า นุสไลน์-โฟลฮาร์ด, *1942 นักชีววิทยาและผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์


    “ชีวิตคือสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดเท่าที่มีในโลก”


    เซลล์ไข่เพียงเซลล์เดียวกลายเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ที่ซับซ้อนได้อย่างไร คริสทีอาน่า นุสไลน์-โฟลฮาร์ดอุทิศชีวิตวิจัยเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์หญิงแห่งสถาบันมักซ์-พลังก์ผู้นี้เป็นสตรีเยอรมันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา การค้นพบของโฟลฮาร์ดกลายเป็นพื้นฐานสำคัญในการแพทย์ เช่นในการวิจัยเรื่องมะเร็งเป็นต้น
    Foto: © SKLA / iStock

    สิ่งประดิษฐ์: การแพทย์ // Foto: © SKLA / iStock


นักฆ่าล่องหน

ปัจจุบัน ยังมีคนถึง 13 ล้านคนต่อปีเสียชีวิตจากโรคติดต่อเช่น วัณโรค เอดส์ มาลาเรียและไข้หวัดใหญ่ ภัยคุกคามใหญ่หลวงเหล่านี้เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก โดยเฉพาะแบคทีเรีย และไวรัส การตรวจจับและระบุเชื้อโรคเหล่านี้และพัฒนายาหรือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพบ่อยครั้งเป็นเรื่องยาก

หนึ่งในผู้บุกเบิกทางการแพทย์คือโรเบิร์ต ค็อค แพทย์และนักจุลชีววิทยาชาวเยอรมัน เขาสามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนเป็นครั้งแรกว่าแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรค ในปีค.ศ.1882 ค็อคค้นพบเชื้อโรคของวัณโรค ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปีค.ศ.1905


หมอโรเบิร์ต ค็อคค้นพบเชื้อวัณโรคในปีค.ศ. 1882

    แสงที่ไม่มีใครรู้จัก

    ไม่มีใครสามารถฉายแสงทะลุตัวมนุษย์ ทำให้มองเห็นโครงกระดูกโดยไม่ทำให้บาดเจ็บได้ อย่างน้อยก็จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1895 ในวันดังกล่าว วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน นักฟิสิกส์ได้ค้นพบรังสีชนิดใหม่ด้วยความบังเอิญ ซึ่งเขาเรียกว่า “เอกซเรย์”

    การค้นพบนี้คือการปฏิวัติวงการแพทย์ รังสีที่ชาวเยอรมันเรียกต่อมาว่ารังสีเรินท์เกนช่วยเปิดช่องทางใหม่ในการวินิจฉัยโรค

    ในปีค.ศ.1901 เรินท์เกนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นคนแรกของโลก แต่เขาไม่ยอมจดลิขสิทธิ์รังสีเอกซเรย์ เพื่อให้การค้นพบของเขาเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ


    การตรวจร่างกายด้วยเอกซเรย์ ประมาณค.ศ.1900

      ติดแห

      ทำไมบางคนจึงป่วย แต่บางคนไม่ ระบบภูมิคุ้มกันมีบทบาทสำคัญมาก แนวป้องกันแรกของร่างกายคือเม็ดเลือดขาว เซลล์ปกป้องร่างกายโดยเฉพาะนี้จะตรวจจับแบคทีเรียและทำให้หมดฤทธิ์ อีกทั้งยังสามารถกินเชื้อโรคโดยการเข้าไปห่อหุ้มและย่อยเชื้อโรค เรื่องนี้รู้กันมานานแล้ว

      แต่จนถึงวันนี้ ระบบภูมิคุ้มกันก็ยังสร้างความประหลาดใจให้เรา ในปีค.ศ.2003 นักวิทยาศาตร์สถาบันมักซ์-พลังก์ค้นพบทริคพิเศษของเซลล์คุ้มกันบางตัว คือมันสามารถกลับด้านในสุดของตัวเองออกมาด้านนอกและเหวี่ยงแหเพื่อจับและฆ่าแบคทีเรียได้


      แบคทีเรียชิเกลลา – จุลชีพก่อโรคบิด - ในร่างแหของเซลล์คุ้มกัน

        วัคซีนป้องกันวัณโรคตัวใหม่

        ปัจจุบัน หนึ่งในสามของประชากรโลกยังติดเชื้อวัณโรค โดยเฉพาะในประเทศยากจน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารน้อยหรือเพราะโรคอื่น ทำให้ประชาชนในประเทศที่ยากจนเกิดเป็นวัณโรคบ่อยครั้ง การรักษามักจะใช้เวลานานและยากลำบาก เพราะมีเชื้อโรคหลายตัวดื้อยาที่ใช้กันอยู่

        ชเตฟาน เคาฟ์มันน์และทีมงานในสถาบันมักซ์-พลังก์สาขาชีววิทยาโรคติดเชื้อกำลังพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ พวกเขาก่อตั้งศูนย์วิจัยในแอฟริกาใต้เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีและวัณโรค


        เป้าหมายสำคัญหนึ่งคือปรับปรุงการวินิจฉัยวัณโรค

          “ยามหัศจรรย์”

          นับแต่ยุคดึกดำบรรพ์ มนุษย์ต้มเปลือกไม้เพื่อบรรเทาอากาศปวดและลดไข้ ค.ศ.1897 เฟลิกซ์ โฮฟมันน์ แห่งบริษัทไบเออร์ได้ค้นพบสารที่ทำให้เกิดผลรักษาโดยบังเอิญ เขาสกัดกรด acetylsalicylic (ASS) จากกรดซาลิไซลิคและน้ำส้มสายชู

          ในปี ค.ศ.1899 บริษัทไบเออร์นำยาใหม่ที่มีชื่อว่าแอสไพรินออกจำหน่าย ตอนแรกในรูปผงแต่ต่อมาไม่นานก็ผลิตเป็นเม็ด ทว่า ASS ไม่ได้มีผลแก้ปวด แก้ไข้และแก้อักเสบเท่านั้น เนื่องจากแอสไพรินทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีจึงช่วยป้องกันเส้นเลือดอุดตันซึ่งทำให้ป้องกันโรคหัวใจวายและเส้นเลือดสมองแตกได้ด้วย

          แอสไพรินกลายเป็นยาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก และขายได้หลายพันล้านเม็ดต่อปี


          ป้ายโฆษณา

          ตอนแรก แอสไพรินออกสู่ตลาดในรูปผง

            ผิวหนังเทียม

            ผิวหนังจากโรงงาน ฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่ ในโรงงานที่เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดที่วิศวกรและนักชีววิทยาของสมาคมเฟราน์โฮเฟอร์พัฒนาขึ้นมีการผลิตผิวหนังจากเครื่องจักร หุ่นยนต์ขนตัวอย่างผิวหนังนำไปย่อยเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์

            อุตสาหกรรมใช้ “ผิวหนังเทียม” เหล่านี้ในการทดลองเครื่องสำอางและสารเคมี เพื่อลดการทดลองกับสัตว์ เป้าหมายต่อไปคือการสร้างเนื้อเยื่อสำหรับเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม โดยให้ “โรงงานผิวหนัง” ปลูกถ่ายผิวหนังของคนไข้แต่ละคนจากชิ้นผิวหนังหรือกระดูกอ่อนขนาดเล็กของคนไข้เอง เช่น ในกรณีคนไข้ที่เป็นเหยื่อไฟไหม้


            ในการผลิต “ผิวหนังเทียม” ต้องย่อยตัวอย่างผิวหนังอัตโนมัติ