งประดิษฐ์: คมนาคม
การเดินทางสำหรับทุกคน
แรงม้าเพียงครึ่งเดียวและเร็วแค่สิบสองกิโลเมตรต่อชั่วโมง จักรยานยนต์คันแรกจึงไม่ใช่รถสำหรับนักซิ่ง ปีค.ศ.1885 วิลเฮล์ม ไมบัคและกอตลีบ เดมเลอร์ได้จดลิขสิทธิ์ “รถขี่” ของพวกเขา แต่ผลิตออกมาแค่คันเดียว แม้แต่โมเดลต่อมารุ่นแรกก็ใช้ไม่ได้เพราะแพงและเสียง่ายเกินไป
รถกลายเป็นที่นิยมอย่างถล่มทลายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุคนั้นรถยอดนิยมคือรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กหรือโมเพ็ดที่ใครๆก็ขี่ได้ หนึ่งในรุ่นยอดนิยมคือ “ควิกลี่” ที่วิศวกรในโรงงาน NSU ที่เนคคาร์สอูล์มพัฒนาขึ้น สมัยนั้นคนหลายแสนคนขับรถบนถนนเยอรมันไม่เร็วนักแต่ปลอดภัย อัตราความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โฆษณามีสโลแกนว่า “ไม่ต้องเดินอีกต่อไป ซื้อควิกลี่”
รถกลายเป็นที่นิยมอย่างถล่มทลายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุคนั้นรถยอดนิยมคือรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กหรือโมเพ็ดที่ใครๆก็ขี่ได้ หนึ่งในรุ่นยอดนิยมคือ “ควิกลี่” ที่วิศวกรในโรงงาน NSU ที่เนคคาร์สอูล์มพัฒนาขึ้น สมัยนั้นคนหลายแสนคนขับรถบนถนนเยอรมันไม่เร็วนักแต่ปลอดภัย อัตราความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โฆษณามีสโลแกนว่า “ไม่ต้องเดินอีกต่อไป ซื้อควิกลี่”
ชายหนุ่มในเยอรมันทุกคนในทศวรรษ 1950 ฝันจะได้ขี่จักรยานยนต์เล็กแบบนี้
เยอรมนี: ชาติรถยนต์
รถยนต์คันแรกมีสามล้อ ค.ศ.1886 รถยนต์จดลิขสิทธิ์หมายเลข 1 ของคาร์ล เบนซ์ติดเครื่องเผาไหม้และเป็นต้นแบบของ “เครื่องยนต์เบนซิน” ทั้งหลาย ผู้ที่สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้ไกลขึ้นกว่าเดิมเป็นผู้หญิง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1888 แบร์ธา เบนซ์เดินทางไปกลับระหว่างเมืองและเมืองพฟอร์ซไฮม์
จากความกังขาในตอนแรก รถยนต์กลายเป็นเครื่องแสดงสถานะของคนต้นศตวรรษที่ 20 ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเยอรมันในทศวรรษที่ 1950-1960 ทำให้ความต้องการรถยนต์สูงขึ้นมาก เฉพาะรถเต่าโฟล์กมีการผลิตถึง 21 ล้านคัน ปัจจุบัน บริษัทรถยนต์ของเยอรมันถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของโลก โดยมีการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดมากขึ้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต
จากความกังขาในตอนแรก รถยนต์กลายเป็นเครื่องแสดงสถานะของคนต้นศตวรรษที่ 20 ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเยอรมันในทศวรรษที่ 1950-1960 ทำให้ความต้องการรถยนต์สูงขึ้นมาก เฉพาะรถเต่าโฟล์กมีการผลิตถึง 21 ล้านคัน ปัจจุบัน บริษัทรถยนต์ของเยอรมันถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของโลก โดยมีการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดมากขึ้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต
ออกเดินทางด้วยรถเบนซ์ติดเครื่องยนต์หมายเลข 1, 1888
รถ BMW i8 – ไฮบริดเสียบปลั๊ก – เป็นตัวแทนหลักการขับเคลื่อนทันสมัยสำหรับรถสปอร์ตเช่นกัน
บนราง
รถรางขบวนแรกใช้ม้าลาก แวร์เนอร์ ฟอน ซีเมนส์เปลี่ยนรถรางม้าให้กลายเป็นรถรางระบบไฟฟ้าขบวนแรก โดยใช้เครื่องยนต์สิบแรงม้าขับเคลื่อนส่งผ่านไฟฟ้าไปยังล้อ แต่ถือว่าอันตรายสำหรับผู้ขับขี่อื่น ดังนั้นรถรางสมัยใหม่จึงต่อไฟฟ้าผ่านสายเคเบิลด้านบน เมื่อรถยนต์ครองถนน
รถรางมากมายจึงหายไป แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันหลายเมืองเลือกมาใช้การคมนาคมที่รักษาสิ่งแวดล้อมเช่นนี้
รถรางมากมายจึงหายไป แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันหลายเมืองเลือกมาใช้การคมนาคมที่รักษาสิ่งแวดล้อมเช่นนี้
ค.ศ. 1881 รถรางไฟฟ้าขบวนแรกออกเดินทางในลิชเทอร์เฟลเดอ ชานเมืองเบอร์ลิน
ทางเลือกสะดวก
ทั่วโลก เครื่องยนต์ดีเซลนับว่าแข็งแรง ใช้งานได้นานและทนงานหนัก แต่เครื่องทดลองเครื่องแรกที่รูดอล์ฟ คริสเตียน ดีเซลสร้างเมื่อค.ศ.1893 ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย แต่ถือเป็นนวัตกรรมที่แท้จริง เครื่องมอเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ประกอบด้วยกระบอกลูกสูบ ซึ่งเป็นที่ผสมอากาศอัดกับเชื้อเพลิง ความร้อนที่เกิดจากการอัดจะทำให้ส่วนผสมเผาไหม้โดยไม่ต้องจุดเพิ่ม
ดีเซลใช้เวลาสี่ปีเพื่อเปลี่ยนเครื่องต้นแบบให้กลายเป็นมอเตอร์ที่ใช้งานได้จริง ความพยายามของเขาคุ้มค่า เครื่องยนต์ดีเซลครองโลก กลายเป็นเครื่องขับเคลื่อนให้แก่รถยนต์และรถบรรทุก รถประจำทางและเรือ
ดีเซลใช้เวลาสี่ปีเพื่อเปลี่ยนเครื่องต้นแบบให้กลายเป็นมอเตอร์ที่ใช้งานได้จริง ความพยายามของเขาคุ้มค่า เครื่องยนต์ดีเซลครองโลก กลายเป็นเครื่องขับเคลื่อนให้แก่รถยนต์และรถบรรทุก รถประจำทางและเรือ
รถบรรทุกส่วนใหญ่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
ช่วยชีวิตด้วยอากาศ
ค.ศ.1951 วอลเทอร์ ลินเดอเรอร์ นักประดิษฐ์ในมิวนิคจดลิขสิทธิ์ถุงลมว่าเป็น “ถุงพับไว้ที่จะพองอย่างอัตโนมัติเมื่อเกิดอันตราย” แต่ต้องรอจนถึงทศวรรษที่ 1960 เมื่อจำนวนอุบัติเหตุรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเริ่มนำถุงลมมาใช้ทางเทคนิค ซึ่งยากกว่าที่คิดมาก ตอนแรก ถุงลมจึงถือว่าล้มเหลวทางธุรกิจ
แต่ความปลอดภัยก็ชนะได้ในที่สุด รถยนต์เยอรมันที่มีถุงลมมาตรฐานคันแรกคือเมอเซเดสรุ่น S-Class ปี1981 รถยนต์สมัยใหม่ติดตั้งถุงลมไว้หลายถุง
การทดสอบการชนแสดงให้เห็นว่าถุงลมช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยของผู้โดยสารในรถยนต์
รถยนต์คิดได้
น้ำแข็งลื่น ถนนลื่น รถติดฉับพลัน คนเดินตัดหน้าถนน การจราจรเต็มไปด้วยอันตราย มนุษย์เข้าใจสถานการณ์ตามสัญชาตญาณและตอบสนอง แต่ส่วนใหญ่มักเร็วไม่พอ
เพื่อให้การขับรถปลอดภัยมากขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันร่วมกับนักวิทยาศาสตร์พัฒนาระบบช่วยการขับรถขึ้น ระบบนี้จะใช้เรดาร์ วิดีโอและคลื่นอัลตราสร้างภาพสิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์บอร์ดจะประเมินข้อมูล เตือนคนขับหรือสั่งให้เบรกฉุกเฉินและระบบ anti-lock brake system ทำงาน เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ และช่วยปูพื้นฐานเทคนิคสำหรับการขับรถอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ในอนาคต
เพื่อให้การขับรถปลอดภัยมากขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันร่วมกับนักวิทยาศาสตร์พัฒนาระบบช่วยการขับรถขึ้น ระบบนี้จะใช้เรดาร์ วิดีโอและคลื่นอัลตราสร้างภาพสิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์บอร์ดจะประเมินข้อมูล เตือนคนขับหรือสั่งให้เบรกฉุกเฉินและระบบ anti-lock brake system ทำงาน เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ และช่วยปูพื้นฐานเทคนิคสำหรับการขับรถอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ในอนาคต
ลูกบอลบนเลนถนน-รถจะคิดไปด้วยและเลี่ยงได้
สิ่งประดิษฐ์อื่น