ภาพกราฟฟิก: ระบบสุริยะจักรวาลมีดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งแปดดวง (c)

“บ้านเกิด” ของเราในอวกาศ

ระบบสุริยะจักรวาลที่พวกเราอยู่เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในจักรวาล มันเป็นเพียงส่วนที่มีขนาดเล็กจิ๋วในกาแล็กซี่ของเรา ซึ่งก็คือกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
 

นอกเหนือจากดวงอาทิตย์แล้ว ยังมีดาวต่างๆ อีกเป็นจำนวน 100 ถึง 400 พันล้านดวงอยู่ที่นี่ เราสามารถจินตนาภาพทางช้างเผือกเป็นแผ่นแบนๆ ซึ่งหมุนอยู่ตลอดเวลา โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 120,000 ปีแสง แต่มีความหนาเพียงประมาณ 1,000 ปีแสงเท่านั้น และมีหลุมดำขนาดมหึมาอยู่ตรงใจกลาง ซึ่งหนักกว่าดวงอาทิตย์ที่เรารู้จักถึงสี่ล้านเท่า

ขนาดของทางช้างเผือกเป็นสิ่งที่ยากที่มนุษย์อย่างพวกเราจะจินตนาการได้ ถึงแม้ว่าแท้จริงแล้วจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เล็กมากๆ ของจักรวาลทั้งหมด ทียังประกอบไปด้วยกาแล็กซี่อีกกว่าหลายล้านล้านกาแล็กซี่

พวกเราในทางช้างเผือก
ดวงอาทิตย์ของเราตั้งอยู่ในแถบโอรีอ้อนของทางช้างเผือกและหมุนรอบศูนย์กลางของกาแล็กซี่ด้วยระยะห่างประมาณ 25,000 ถึง 28,000 ปีแสง กว่าจะหมุนรอบหลุมดำตรงกลางที่ชื่อ Sagittarius A* หนึ่งรอบก็ต้องใช้เวลาประมาณ 220 ถึง 240 ปีแสง ถึงแม้ว่าจะหมุนรอบด้วยความเร็วถึง 800.000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้วก็ตาม

ระบบสุริยะจักรวาลของเรา
ระบบสุริยะจักรวาลที่เราอยู่ ถือกำเนิดจากชั้นก๊าซหมุนและฝุ่นเมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีก่อน และประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์หนึ่งดวงและดาวเคราะห์อีกแปดดวง ดาวหมายถึงวัตถุท้องฟ้าที่ใหญ่และกลม ที่ไม่มีแสงในตัวเองและหมุนรอบดาวหนึ่งดวง เป็นวัตถุที่มีวงโคจรเป็นของตัวเอง เนื่องจากสสารของตัวเองที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้ดึงดูดวัตถุท้องฟ้าอื่นที่อยู่ภายในวงโคจรของมันเข้าหาตัว ชาวโรมันเป็นคนตั้งชื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งก็ยังใช้ชื่อดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน

ดวงอาทิตย์
เฉกเช่นเดียวกับดาวทุกดวง ดวงอาทิตย์ของเราก็ปล่อยรังสีพลังงานออกมาเช่นกัน พลังงานดังกล่าวมีที่มาจากปฎิกิริยาภายในดวงอาทิตย์ ซึ่งมาจากการผสมของแกนไฮโดรเจนกับแกนฮีเลี่ยม กระบวนการผสมดังกล่าวเป็นแหล่งที่มาของพลังงานแทบจะทุกพลังงานที่เราใช้ประโยชน์บนโลก

โดยมนุษย์เราเคยมีความเชื่อว่า โลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคุส ตั้งข้อสงสัยตั้งแต่ในปี 1514 แล้ว เขาเชื่อว่าดาวเคราะห์ต่างๆ รวมถึงโลกจะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ มันเป็นความเชื่อที่สุดเหลือเชื่อในสมัยก่อน โดยศตวรรษที่ 17 ความเชื่อดังกล่าวถึงค่อยๆ เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
© Max-Planck-Gesellschaft

ดาวพุธ
ดาวพุธสามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเพียง 88 วันเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ชาวโรมันจึงตั้งชื่อว่าเมอคิวรี่ ซึ่งเป็นเทพแห่งการส่งสารอันรวดเร็ว โดยดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลดังกล่าวมีชั้นบรรยากาศที่บางมาก อุณหภูมิบนพื้นผิวจึงขึ้นลงระหว่างติดลบ 173 องศาเซลเซียสตอนกลางคืนและ 427 องศาเซลเซียสตอนกลางวัน

ดาวศุกร์
หากมองดูดาวจากโลก เราจะไม่เห็น ”ดาว” ดวงไหนส่องสว่างได้ชัดเจนเท่าดาวศุกร์เลย เมื่อพระอาทิตย์ตก ดาวศุกร์จะเป็นวัตถุท้องฟ้าแรกที่เราเห็น และเป็นดวงสุดท้ายที่จะหายไปจากฟ้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เราจึงเรียกดาวศุกร์ว่า “ดาวยามเย็น” หรือ “ดาวยามเช้า” อย่างไรก็ตาม ดาวศุกร์เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เพียงแต่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เฉกเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ

โลก
เราโชคดีมากที่โลกมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์อย่างพอดิบพอดี ซึ่งทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นบนโลกได้ หากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น โลกก็จะร้อนเกินไป แต่ถ้าไกลออกไปหน่อย โลกก็จะหนาวเกินไปด้วย เฉพาะในระยะห่างที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้แบบนี้ เป็นระยะเดียวที่น้ำสามารถคงสภาพเป็นของเหลวอยู่อย่างถาวรได้ และนี่ก็คือเงื่อนไขหลักของการกำเนิดสิ่งมีชีวิตในแบบที่เรารู้จัก

ดาวอังคาร
ดาวอังคารประกอบไปด้วยหินที่เต็มไปด้วยธาตุเหล็ก สีแดงส้มที่เราเห็นก็ไม่ใช้อะไรนอกจากสนิมนั่นเอง ภูเขาไฟในดาวอังคารที่ใหญ่ที่สุดมีความสูงกว่า 20 กิโลเมตร ภูเขาที่สูงที่สุดในโลกมีความสูงอยู่ที่ 8,848 เมตรซึ่งก็คือยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเมื่อเอามาเปรียบเทียบกันก็จะแลดูเล็กลงไปเลย หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารหลายตัวได้สำรวจดาวอังคารทางด้านธรณีวิทยาแล้ว

ดาวพฤหัส
ดาวพฤหัสเป็นดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล เป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดมหึมามีส่วนประกอบต่างๆ คล้ายกับพระอาทิตย์ แต่เบามากจนไม่สามารถติดไฟและกลายเป็นดวงดาวไปได้ด้วยตัวของมันเอง ดาวพฤหัสมีดวงจันทร์อย่างน้อย 79 ดวง

ดาวเสาร์
วงแหวนรอบดาวเสาร์ทำจากส่วนต่างๆ ของหินและน้ำแข็งที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน โดยมีวงแหวนทั้งหมดมากกว่า 100,000 วงในลักษณะของแผ่นแบนๆ ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีวงแหวนเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีรูปทรวงเหมือนวงแหวนมากนัก เราจึงไม่ค่อยเห็นวงแหวนของดาวเคราะห์ดวงอื่น

ดาวยูเรนัส
ดาวเคราะห์น้ำแข็งยูเรนัสถูกพบครั้งแรกโดยวิลเฮล์ม เฮอร์เชล  นักดาราศาสตร์และนักดนตรีชาวเยอรมันอังกฤษในปี 1781 ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์อย่างน้อย 27 ดวงและดวงจันทร์หลายดวงก็มีชื่อเรียกเหมือนกับตัวละครของผลงานเขียนของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์

ดาวเนปจูน
ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่ไม่สามารถมองเห็นจากโลกด้วยตาเปล่าได้ ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1846 โดยนักดาราศาสตร์ที่ชื่อ โยฮัน โก็ตฟรีด กัลเลอ นักคณิตศาสตร์ที่ชื่อ อุคแบง เลอ แวเนีย ได้คำนวณและค้นพบการมีอยู่และตำแหน่งโดยประมาณของดาวเคราะห์ดังกล่าวแล้ว กัลเลอจึงพอทราบว่าเขากำลังจะหาดาวเคราะห์ดวงไหนอยู่

ผู้ร่วมจัดงาน

GI-Logo MPG Logo