การปฎิวัติในช่วงยุคหิน

เมื่อ 20,000 ปีก่อน มนุษย์ทุกคนต่างก็อยู่รอดด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่า แต่เมื่อ 5,000 ปีก่อนนั้น มีเพียงมนุษย์เพียงสิบเปอร์เซ็นต์ที่ยังอยู่รอดด้วยวิธีดังกล่าว เพราะมนุษย์ส่วนที่เหลือได้ผันตัวมาทำการเกษตรและการปศุสัตว์เป็นที่เป็นทางแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร
 

การเกษตรกรรมได้ถือกำเนิดประมาณ 11,000 ปีก่อนใน ”เขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งก็คือบริเวณที่มีพื้นที่กว้างตั้งแต่ประเทศอิรักจนถึงประเทศซีเรียในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อนก็เป็นบริเวณที่เริ่มมีอากาศอบอุ่นขึ้น และจุดที่เคยเป็นที่ราบกว้างก็เริ่มมีหญ้าป่าจำพวกธัญพืชขึ้น มนุษย์ผู้ล่าสัตว์และผู้เก็บของป่าจึงเริ่มสามารถตั้งรกราก ณ ที่ใดที่หนึ่งได้มากขึ้น แต่ภูมิอากาศก็ไม่ได้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยตลอดเวลา ผู้คนจึงเริ่มคัดเลือกและปลูกธัญพืชที่ดีที่สุดเพื่อการอยู่รอดในสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และเหล่าเกษตรกรก็เริ่มอยู่อาศัยกันอย่างเป็นที่เป็นทาง โดยสามารถเก็บตุนสเบียงอาหารและหาอาหารมาเลี้ยงดูครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้

เมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อน การเกษตรกรรมเริ่มเข้ามาจากอนาโตเลียมายังยุโรป เกษตรกรจากพื้นที่ดังกล่าวจึงได้พบกับกลุ่มที่ยังล่าสัตว์และเก็บของป่าและส่วนใหญ่ก็ได้ตัดสินใจอยู่ร่วมกัน ระลอกการย้ายถิ่นฐานครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,800 ปีก่อน เป็นการอพยบของนักปศุสัตว์ที่มาพร้อมกับฝูงวัวจากที่ราบกว้างทางตะวันออก โดยเป็นกลุ่มที่มีอารยธรรมทั้งทางวัฒนธรรมและทางเทคนิคต่างๆ ในการอยู่อาศัยเหนือกว่ากลุ่มเจ้าถิ่นที่เดิม

มีที่พอสำหรับทุกคนแน่นอน
เมื่อ 8,000 ปีก่อน เกษตรกรจากอนาโตเลียได้เริ่มพบปะกับกลุ่มนักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าเจ้าถิ่นในยุโรป เกษตรกรจะทำไร่ทำนาแต่ยังไม่มีนมวัวสำหรับการบริโภคมากนัก โดยคนทั้งสองกลุ่มดังกล่าวต่างก็อาศัยอยู่ใกล้กันเป็นเวลานานอย่างน้อย 2,000 ปี แต่ก็ไม่มีกลุ่มไหนจะสนใจว่ากลุ่มคนอีกกลุ่มจะมีความเป็นอยู่อย่างไร กล่าวคือ นักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าเป็นกลุ่มคนที่ได้รับสารอาหารอย่างพอเพียงและสุขภาพแข็งแรง เช่น ไม่เป็นโรคฟันผุ เพราะยังไม่รู้จักธัญพืชต่างๆ ที่เวลาเราเคี้ยวในปาก สารอาหารจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล แต่ก็มีลูกเพียงไม่กี่คน เพราะเด็กแต่ละคนจะต้องกินนมแม่เป็นเวลานานหลายปี นักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าจำเป็นต้องออกหาอาหารเพียงวันละสองถึงสี่ชั่วโมงต่อวันเพื่อการอยู่รอด  พวกเขาจึงมี “เวลาว่าง” เยอะมาก ในทางกลับกัน ครอบครัวเกษตรกรจะต้องทำงานอย่างหนักทั้งวัน แต่สามารถหาอาหารเลี้ยงดูครอบครัวขนาดใหญ่กว่าได้และมีลูกมากกว่าอีกกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด โดยจะอาศัยอยู่ในแหล่งที่พักและมีข้าวของต่างๆ มากมาย หากทำงานน้อยลง ก็จะไม่สามารถหาอาหารพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัวขนาดใหญ่ได้ หากทั้งสองกลุ่มทะเลาะเบาะแว้งกัน กลุ่มที่เป็นนักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าจะถอยออกไปอยู่ในพื้นที่ที่ถือว่าไม่มีประโยชน์สำหรับกลุ่มชาวไร่ชาวนา เพราะในผืนป่าก็มีที่พอให้อยู่อีกมากมาย

การคิดค้นเกษตรกรรม
เป็นเวลาตั้งแต่ช่วง 12,000 ถึง 14,000 ปีก่อนแล้ว ที่นักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าในบริเวณประเทศอิสราเอลและจอร์แดนในปัจจุบันเริ่มสะสมธัญพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อนำมาผลิตแป้ง แต่ช่วงอากาศแห้งแล้วและหนาวจัดก็เข้ามาในช่วง 13,000 ปีก่อนทำให้หาอาหารได้น้อยลง เราจึงคาดการณ์ว่า นี่เป็นสาเหตุให้คนเริ่มปลูกและคัดเลือกธัญพืชที่มีคุณสมบัติ “พิเศษ”  โดยเริ่มปลูกข้าวเอมเมอร์ในช่วงประมาณ 10,500 ปีก่อน ซึ่งเป็นต่อมากลายเป็นข้าวสาลีที่เรารู้จักในปัจจุบัน ข้าวเอมเมอร์จะมีฝักที่แข็งทำให้เมล็ดข้าวไม่ตกหล่นลงพื้นในระหว่างการเก็บเกี่ยว และนี่ก็คือคุณสมบัติหนึ่งซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรม แต่ไม่มีประโยชน์ต่อการขยายพันธุ์ของธัญพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย และข้าวบาร์เลย์ก็มีมานานแล้วเช่นกัน กล่าวคือ เหล่านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยด้านประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ สถาบัน Max Planck เมืองเยน่า ได้ร่วมทำวิจัยกับทีมนักวิจัยนานาชาติเพื่อศึกษาเมล็ดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่มีอายุถึง 6,000 ปีจากบริเวณที่ใกล้กับทะเลเดดซี และนำมาเปรียบเทียบกับชนิดพันธุ์ต่างๆ ของบริเวณดังกล่าวในปัจจุบัน โดยพบว่าพืชพรรณดังกล่าวต่างก็แทบจะไม่มีข้อแตกต่างกันทางพันธุกรรมเลย นั่นหมายความว่า การเพาะพันธุ์เพื่อพัฒนาธัญพืชนั้นได้สิ้นลงตั้งแต่ช่วงยุคหินมาแล้ว เมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่มีอายุมากกว่า 6000 ปี ค้นพบในถ้าใกล้ทะเลเดดซี © nature genetics, DOI: 101038/ng.311 เมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่มีอายุมากกว่า 6000 ปี ค้นพบในถ้าใกล้ทะเลเดดซี

การเปลี่ยนแปลงจากการย้ายถิ่นฐานและการแลกเปลี่ยนทางความคิด
การวิเคราห์ยีนพันธุกรรมช่วยให้เราทราบว่า เกษตรกรจากอนาโทเลียได้โยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาในยุโรปพร้อมกับเทคนิคเกษตรกรรมตั้งแต่ช่วง 8,000 ปีก่อนแล้ว แต่คนเหล่านี้คือใครและได้เรียนรู้การทำเกษตรกรรมมาจากไหน เพื่อตอบคำถามดังกล่าว เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงตรวจสอบโครงกระดูกอายุถึง 15,000 ปีของคนที่ย้ายมาจากอนาโทเลียคนหนึ่ง โดยผลที่ได้ก็คือ เกษตรกรจากอนาโทเลียเป็นลูกหลานสายตรงของนักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าในยุโรป กล่าวคือกลุ่มยีนของเกษตรกรเป็นกลุ่มยีนที่คงรูปเดิมมากว่า 7,000 ปี นั่นหมายความว่า มนุษย์เจ้าถื่นในยุโรปได้เปิดรับแนวความคิดและเทคนิคการเกษตร พร้อมกับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองด้วย


สภาพแวดล้อมใหม่ รูปร่างหน้าตาใหม่
หลังสิ้นสุดสมัยอากาศหนาวครั้งสุดท้ายในช่วง 18,000 ปีก่อน เหล่านักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าที่มีผิวสีเข้มและตาสีฟ้า ได้อาศัยอยู่ในแถบกลางของยุโรปเป็นเวลาอีกหลายพันปีต่อมา กลุ่มคนดังกล่าวกินเนื้อและปลาเป็นอาหารทำให้ได้รับวิตามินดีเยอะ แต่เกษตรกรที่ย้ายจากอนาโตเลียเข้ามาในยุโรปในช่วง 8,000 ปีก่อนจะเน้นกินพืชผักเป็นอาหารจึงทำให้ร่างกายขาดวิตามินดี ถึงแม้ว่าร่างกายคนเราสามารถสร้างวิตามินดังกล่าวเองได้ แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อผิวหนังได้รับแสงยูวีอย่างพอเพียงเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับคนผิวขาวที่อยู่ทางแถบเหนือ เกษตรกรผิวขาวจึงมีข้อได้เปรียบทางวิวัฒนาการ เพราะผิวสีเข้มที่มีพัฒนาการมาจากทวีปแอฟริกาเพื่อป้องกันรังสียูวี ไม่ได้สำคัญในที่แห่งใหม่ทางตอนเหนืออีกต่อไปแล้ว

แล้วทำไมตาสีฟ้าถึงยังอยู่ล่ะ ตาสีฟ้าไม่ได้มีข้อได้เปรียบอย่างไรในเชิงปฎิบัติ บางทีอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับความนิยมชมชอบคนใดคนหนึ่งในช่วงยุคแรกๆ ทำให้คนอยากมีคู่เป็นคนตาสีฟ้ามากกว่าก็เป็นไปได้

ผลกระทับอันน่าประหลาดใจของโภชนาการแบบใหม่
เสียงต่างๆ ในภาษามนุษย์มีความหลากหลายมาก เราเคยเชื่อกันมาก่อนว่า เสียงต่างๆ ทั้งหมดที่เราพูดเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ช่วงการพัฒนาการของมนุษย์สายพันธฺ์โฮโม ซาเปียนเมื่อประมาณ 300,000 ปีก่อน แต่การศึกษาวิจัยล่าสุดกลับค้นพบว่า เสียงตัว “ฟ” และและ “ว” เพิ่งเริ่มมีขึ้นในช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ที่ไม่นานมากนัก โดยเป็นผลจากการวางตัวของฟันใหม่ของมนุษย์ นักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าต่างก็มีโครงสร้างศีรษะสำหรับ “การกัดฉีก” เพราะต้องบริโภคแต่อาหารที่แข็งและเคี้ยวยาก  โดยฟันเคี้ยวของกรามบนและล่างจะยาวชนติดกันพอดี แต่เมื่อผู้คนเริ่มหันมาบริโภคอาหารอ่อนมากขึ้น ทำให้ฟันกรามบนเริ่มเลื่อนออกไป โดยในปัจจุบัน ฟันเขี้ยวด้านบนจะยื่นอยู่เหนือฟันล่างเล็กน้อย และการวางตัวของฟันในแบบดังกล่าวก็เราสามารถออกเสียงใหม่ดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นเสียงที่ใช้พูดกันในจำนวนภาษากว่าครึ่งทั่วโลก โดยการออกเสียง “ฟ” ฟันเขี้ยวด้านบนจะสัมผัสกับริมฝีปากล่างเล็กน้อย

  การเรียงตัวของฟัน © Tímea Bodogán
รูปแบบการบริโภคนั้นส่งผลกระทบต่อการเรียงตัวกันของฟันและภาษา

ข้อแตกต่างที่เกิดจากนม
แท้จริงแล้วมีเพียงสิ่งมีชีวิตวัยเด็กของกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้นที่สามารถย่อยอาหารจำพวกนมได้ เอนไซม์แลกเตสจะเป็นตัวย่อยน้ำตาลจากนม (แล็กโตส) เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ โดยเมื่อมีอายุเต็มวัย การผลิตเอนไซม์ดังกล่าวก็จะหยุดลง เพราะฉะนั้น การดื่มนมจึงทำให้เกิดปัญหาการย่อยอย่างรุนแรง เมื่อ 4,800 ปีก่อน ผู้ย้ายถิ่นฐานจากที่ราบกว้างได้นำฝูงวัวมาตั้งรกรากที่ยุโรป โดยการปศุสัตว์ได้ช่วยให้ผู้คนมีแหล่งสารอาหารที่ดีเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถย่อยน้ำนมได้ แต่ก็สามารถนำนมมาใช้ทำอย่างอื่น เพราะพวกเขาได้คิดค้นเทคนิคการผลิตนมเพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่มีแล็กโตสได้เช่น นมเคเฟียร์ โยเกิร์ตหรือเนยและหลังจากนั้นเรื่องสุดบังเอิญทางวิวัฒนาการก็เกิดขึ้น ยีนในตัวผู้ใหญ่บางคนเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้การผลิตเอนไซม์แล็กเตสหยุดลงในช่วงกำลังโต ทำให้ผู้ใหญ่ก็สามารถดื่มนมได้เช่นเดียวกัน ในตอนกลางของทวีปยุโรป การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่ทำให้ร่างกาย “ไม่แพ้แล็กโตส” เริ่มขยายตัวขึ้นพร้อมกับวัฒนธรรมการทำปศุสัตว์ ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน ผู้คนที่อาศัยในประเทศเยอรมนีประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์สามารถทานนมได้ แต่มีเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ในประเทศจีนที่สามารถทำได้เช่นนั้น


ว่าด้วยเรื่องของฟัน
มนุษย์เราเริ่มกินนมเป็นประจำและผลิตผลิตภัณฑ์จากนมอย่างเป็นระบบตั้งแต่เมื่อไหร่และที่ไหน หัวหน้าทีมนักวิจัย Christina Warinner จากสถาบันวิจัยประวัติศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ สถาบัน Max Planck เมืองเยน่า ต้องการตอบคำถามดังกล่าว จึงเริ่มตรวจสอบหินปูนในฟันของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และค้นพบดีเอ็นเอของแบคทีเรียในหินปูนตรงฟันผุ รวมถึงโปรตีนจากนม โดยเฉพาะโปรตีนตัวนม (แล็กโตโกลบุลิน) ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เราจะพบโปรตีนดังกล่าวได้ในนมแกะ นมวัวและนมแพะ แต่ไม่พบในน้ำนมแม่ โดยลำดับความเป็นอะมิโนจะสร้างออกไปในสัตว์แต่ละชนิด การวิเคราะห์ดังกล่าวช่วยหานักวิจับสามารถจำแนกได้ว่า เป็นนมชนิดใดแบบไหน และเป็นที่นิยมบริโภคเมื่อไหร่ บริเวณไหน

  คราบพลั๊กบนฟันทีสะสมมากว่าหลายร้อยปีนั้นบอกอะไรมากมายเกี่ยวกับการกินอาหารของบรรพบุรุษของเรา © Christina Warinner / Max-Planck-Institut für Menschheitsgeschichte, Jena
คราบพลั๊กบนฟันทีสะสมมากว่าหลายร้อยปีนั้นบอกอะไรมากมายเกี่ยวกับการกินอาหารของบรรพบุรุษของเรา

ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ผู้คนต่างมีข้อได้เปรียบหลายข้อจากเกษตรกรรม แต่เราก็ต้องมีอะไรแลกกับวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่เช่นกัน เพราะมันทำให้ยุคสมัยแห่งโรคติดต่อเริ่มต้นขึ้น เพราะคนกลุ่มใหญ่หลายกลุ่มต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างแออัด อีกทั้งยังอยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ที่เลี้ยงในครอบครัว ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและตัวปรสิตอื่นๆ เช่น เห็บและหนู

ในปัจจุบัน นักโบราณคดีด้านพันธุกรรมรู้จักตัวก่อให้เกิดโรคระบาดที่เก่าแก่เกือบ 5,000 ปีหลายตัว แต่โรคดังกล่าวมีที่มาจากไหนกันแน่ ผู้คนที่อยู่บริเวณที่ราบกว้างเป็นคนนำโรคระบาดมาพร้อมกับฝูงม้าจากแถบตอนกลางของยุโรปมา หรือว่าเป็นบริเวณที่เคยมีเชื้อโรคดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว นี่ถือเป็นคำถามที่หาคำตอบได้ไม่ง่ายนัก เพราะเราแทบจะไม่พบเศษซากโครงกระดูกในช่วง 4,800 ถึง 5,500 ปีก่อนในยุโรปเลย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโรคดังกล่าวได้แพร่ระบาดไปทั่วจนต้องเผาศพผู้ติดเชื้อ หรืออาจจะมาจากผู้ที่เคยอยู่ตามที่ราบกว้าง ซึ่งนำเชื้อโรคมาแพร่ในบริเวิณที่ไม่เคยมีใครอยู่มาก่อน ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราจึงไม่พบหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเคยการการประทะต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างเกษตรกรท้องถิ่นในยุโรปกับคนทำปศุสัตว์ที่ย้ายเข้ามาใหม่เลย

ด้านมืดของการปฏิวัติการอยู่อาศัย
ช่วงข้ามผ่านจากการใช้ชีวิตล่าสัตว์และเก็บของป่าเป็นการทำเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ทำให้เชื้อที่ทำให้เกิดโรคใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น นี่เคยเป็นข้อสันนิษฐานของเหล่านักวิจัยต่างๆ เป็นเวลานาน ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าจริงในปี 2019 การศึกษาวิจัยวงกว้างของซากกระดูกมนุษย์ซึ่งมีอายุถึง 6,500 ปี ช่วยให้เราสามารถจำลองต้นแบบยีนพันธุกรรมของเชื้อแซลโมเนลล่าซึ่งมีอายุหลายพันปีขึ้นมาได้ เชื้อแซลโมเนลล่าดังกล่าวที่พบในกระดูกของเกษตรกรและคนทำปศุสัตว์เป็นบรรพบุรุษเริ่มแรกของแบคทีเรียตระกูล Paratyphi C ซึ่งเป็นตระกูลที่ติดเชื้อเฉพาะมนุษย์และทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคไข้รากสาดใหญ่ แต่เชื้อแซลโมเนลล่าในอดีตไม่น่าจะมีการพัฒนาการโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ทั้งคนและสัตว์ติดเชื้อได้

  นักวิจัยสามารถพิสูจน์ได้เป็นครั้งแรกจากตัวอย่างของเชื้อซาโมเนลล่านั้นว่าหากเกษตรกรและสัตว์อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ได้ © Mediscan / Alamy Stock Foto
นักวิจัยสามารถพิสูจน์ได้เป็นครั้งแรกจากตัวอย่างของเชื้อซาโมเนลล่านั้นว่าหากเกษตรกรและสัตว์อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ได้

ผู้ร่วมจัดงาน

GI-Logo MPG Logo