© Christina / WOCinTech stock
ภาษา ความสามารถเฉพาะของมนุษย์
มนุษย์เราจะเรียนภาษาได้ดีเป็นพิเศษในช่วงประมาณหนึ่งปีถึงเริ่มเข้าวัยรุ่น หลังจากนั้นความสามารถในการเรียนภาษาจะค่อยๆ ลดลง แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเรียนภาษาใหม่ได้ดีหากมีความพยายาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับการพิสูจน์ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เรียบร้อยแล้ว
พื้นที่สมองหลายพื้นที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่เพื่อประมวลข้อมูลทางภาษา บางพื้นที่มีความสำคัญต่อการวางประโยคหรือไวยากรณ์ บางพื้นที่ก็จะเป็นเรื่องของความหมายคำศัพท์ เราจะเห็นการเรียนภาษาได้ชัดเจนจากการสังเกตเด็กเล็ก โดยเป็นวัยที่กลุ่มเส้นใยประสาทที่เป็นตัวเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของสมองเสมือนทางด่วนขนส่งข้อมูล กำลังค่อยๆ เริ่มขยายตัว เด็กๆ จึงสามารถทำความเข้าใจประโยคที่ซับซ้อนหรือพูดออกมาด้วยตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยความเร็วในการเรียนจะแตกต่างออกไปในแต่ละคน กล่าวคือ ในขณะที่เด็กบางคนเริ่มพูดคำแรกออกมาเมื่ออายุแปดเดือน เด็กบางคนอาจเริ่มพูดเมื่อมีอายุเลยสองปีแล้ว
ภาษาสร้างคน
สำหรับผู้อำนวยการ Angela Friederici แห่งสถาบันวิจัยด้านกระบวนการรับรู้และประสาทวทิยา สถาบัน Max Planck ภาษาเปรียบเสมือนสิ่งที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นคน ถึงแม้ว่าลิงไม่มีหางหรือสุนัขจะสามารถเรียนความหมายของคำเป็นคำๆ ได้ แต่มีเพียงมนุษย์เราที่สามารถเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของภาษาอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักที่กำหนดอย่างชัดเจน Friederici และทีมงานทำการวิจัยศึกษา โดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาการสมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการพัฒนาทางภาษา เพราะส่วนต่างๆ สมองที่มีหน้าที่ประมวลภาษา ต่างก็พัฒนาในความเร็วที่ไม่เหมือนกัน จนถึงช่วงอายุปีที่สาม พื้นที่สมองที่เรียกว่า พื้นที่ Wernicke (ความเข้าใจทางภาษา) ในสมองส่วนหน้าจะเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนภาษาของเรา หลังจากนั้นส่วนสำคัญทางภาษาส่วนที่สองก็จะค่อยๆ พัฒนาตามกันมา ได้แก่ พื้นที่ Broca (การใช้ภาษาด้วยตัวเอง) ซึ่งอยู่ในบริเวณหน้าผากของสมองใหญ่ เราจึงสามารถสร้างประโยคที่มีความหมายซับซ้อนมากขึ้นได้เรื่อยๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี ทางเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ทั้งสองส่วนจึงจะสามารถพัฒนาต่อไปจนสมบูรณ์ได้ โดยช่วงปลายของช่วงเข้าสู่วัยรุ่นเราจะสามารถประมวลการใช้ภาษาที่ซับซ้อนได้เร็วเหมือนกับภาษาทั่วไป
ภาษาสร้างคน
สำหรับผู้อำนวยการ Angela Friederici แห่งสถาบันวิจัยด้านกระบวนการรับรู้และประสาทวทิยา สถาบัน Max Planck ภาษาเปรียบเสมือนสิ่งที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นคน ถึงแม้ว่าลิงไม่มีหางหรือสุนัขจะสามารถเรียนความหมายของคำเป็นคำๆ ได้ แต่มีเพียงมนุษย์เราที่สามารถเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของภาษาอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักที่กำหนดอย่างชัดเจน Friederici และทีมงานทำการวิจัยศึกษา โดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาการสมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการพัฒนาทางภาษา เพราะส่วนต่างๆ สมองที่มีหน้าที่ประมวลภาษา ต่างก็พัฒนาในความเร็วที่ไม่เหมือนกัน จนถึงช่วงอายุปีที่สาม พื้นที่สมองที่เรียกว่า พื้นที่ Wernicke (ความเข้าใจทางภาษา) ในสมองส่วนหน้าจะเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนภาษาของเรา หลังจากนั้นส่วนสำคัญทางภาษาส่วนที่สองก็จะค่อยๆ พัฒนาตามกันมา ได้แก่ พื้นที่ Broca (การใช้ภาษาด้วยตัวเอง) ซึ่งอยู่ในบริเวณหน้าผากของสมองใหญ่ เราจึงสามารถสร้างประโยคที่มีความหมายซับซ้อนมากขึ้นได้เรื่อยๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี ทางเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ทั้งสองส่วนจึงจะสามารถพัฒนาต่อไปจนสมบูรณ์ได้ โดยช่วงปลายของช่วงเข้าสู่วัยรุ่นเราจะสามารถประมวลการใช้ภาษาที่ซับซ้อนได้เร็วเหมือนกับภาษาทั่วไป
ดนตรีและภาษาต่างก็มีอะไรหลายอย่างเหมือนกันมาก สำหรับนักจิตวิทยาทางประสาท Daniela Sammler กสถาบันการทดลองสุนทรียศาสตร์ สถาบัน Max Planck ความเกี่ยวเนื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเวลาที่แม่ร้องเพลงกล่องเด็กหรือพูดคุยกับเด็กในแบบเฉพาะ โดยเด็กจะเข้าใจความรู้สึกที่สื่อผ่านทำนองเพลงนั้นๆ ออกมา เฉกเช่นเดียวกับทุกภาษา ดนตรีของทุกวัฒนธรรมต่างก็มีลำดับของเสียงสูงต่ำและทำนองคล้องกันที่ชัดเจน หรือที่เราเรียกว่า “ไวยากรณ์” เวลาเรียนภาษา เมื่อนักดนตรีเล่นผิดลำดับดังกล่าว ส่วนหนึ่งของสมองที่คล้ายกันก็จะเริ่มทำงานเหมือนกับเวลาที่เราใช้ไวยากรณ์ในประโยคผิด
ภาษาและดนตรีเป็นวิธีการสื่อสารสองวิธีที่มนุษย์เราพัฒนาขึ้น ในแบบที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดไหนทำมาก่อน Daniela Sammler เชื่อว่า ที่มาของวิธีสื่อสารดังกล่าวมาจากการประมวลผลข้อมูลในสมอง ทีมวิจัยของเธอจึงทำการศึกษาวิจัยความสำคัญของทำนองภาษาในการสื่อสาร รวมถึงวิธีการรับรู้ทำนองเพลงในดนตรีของมนุษย์เราอีกด้วย
© Max-Planck-Institut für Kognitions- und Neurowissenschaften, Leipzig นักเปียโนคนหนึ่งกำลังเล่นเปียโนที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษในระหว่างที่เขากำลังอยู่ในเครื่อง MRT นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถสังเกตการเล่นดนตรีและการทำงานของสมองได้
ภาษาที่ซ่อนอยู่ในยีนพันธุกรรม
คนบางคนสามารถสื่อสารทางภาษาได้ดีและเรียนภาษาต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย แต่เรื่องดังกล่าวก็เป็นเรื่องยากสำหรับคนบางคนเช่นกัน โดยมันจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่เงื่อนไขที่ทำให้เราพูดและเรียนภาษาได้ดีนั้นหลบซ่อนอยู่ในยีนพันธุกรรมของเรา ในปี 1998 Simon Fishe ได้ค้นพบยีนที่มักจะได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ยีนภาษา” ที่ชื่อ FOXP2 ว่าเป็นยีนที่มีบทบาทสำคัญ แต่ยีนดังกล่าวก็ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญเพียงอย่างเดียวในการใช้ภาษา เพราะยีน FOXP2 ก็มีอยู่ในลิง สัตว์จำพวกหนู สัตว์ปีก รวมไปถึงปลาต่างๆ อีกด้วย ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันแล้วว่ายีน FOXP2 เป็นยีนที่เรียกว่า ยีนบันทึกความ มันเป็นตัวควบคุมการทำงานของยีนอีกถึง 1000 ยีนในเครื่อข่ายชีวประสาท ไม่มียีนใดเป็นยีนภาษาเพียงหนึ่งยีน เพราะภาษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน รวมถึงในระดับของยีนพันธุกรรมด้วย เหล่านักวิจัยในแผนกของคุณ Fisher ของสถาบันจิตวิทยาทางภาษา สถาบัน Max Planck จึงต้องการไขความลับของเครือข่ายต่างๆ ทางพันธุกรรมและชีววิทยาทางประสาท ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เราสามารถเรียนและใช้ภาษาได้
© Sarah Richter/Pixabay